การวางยาสลบและห้องผ่าตัดใหญ่

ที่โรงพยาบาลทันตกรรมกรุงเทพBIDH พันธกิจของเราคือการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพจากการใช้ยาชาเพื่อการตรวจวินิจฉัย,กระบวนการการรักษาทางทันตรรมต่างๆ(ยาชาเฉพาะที่,ยาคลายความกังวล,ยาสลบ) BIDHให้การรักษาทางทันตกรรมสำหรับผู้ที่มีความกลัวและกังวลในการทำฟัน

ทีมทันตแพทย์และวิสัญญีแพทย์ของเรา ได้รับใบอนุญาตทั้งขั้นพื้นฐานและระดับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

IV Sedation

คลายความกังวลระดับกลาง

การกินยา/ให้ยาทางหลอดเลือดดำ

ความกลัวและกังวลในการทำฟัน

คลายความกังวลระดับลึก

การวางยาสลบ

การให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย

ทางเลือกในการใช้ยาคลายความกังวล

การใช้ยาชาเพื่อการตรวจวินิจฉัย, กระบวนการการรักษาทางทันตกรรมภายใต้การให้ยาคลายความกังวลในรูปแบบต่างๆ เพื่อที่จะจัดการระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถทนต่อความเจ็บปวดไม่สบายระหว่างการรักษา ในขณะที่เราดูแลเรื่องระบบความดันโดหิตและการหายใจให้เป็นปกติ

ทางเลือกในการให้ยาคลายความกังวลครอบคลุมถึงชนิดของยา,ขนาดความแรงของยา,วิธีการให้ยา เพื่อที่จะควบคุมระดับการรับรู้ของผู้ป่วย

ระดับของยาคลายความกังวลและยาลดความเจ็บปวดแบ่งเป็น4ระดับตามมาตรฐานสมาคมวิสัญญีแพทย์ประเทศสหรัฐอเมริกาดังนี้

ให้กินยา เพื่อลดความกังวลลงเล็กน้อย ผู้ป่วยจะยังรู้สึกตัว และพูดคุยสื่อสารได้อย่างปกติแม้ว่าปฏิกริยา ตอบสนองอาจช้าลง แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบการหายใจและความดันโลหิต

การให้ยาเพื่อกดระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วยลง(อาจแค่กินยาหรือให้ยาทางหลอดเลือดดำ) ผู้ป่วยจะยัง พูดคุยสื่อสารกันได้ โดยอาจต้องมีการสะกิดหรือสัมผัสตัวเรียกเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องมีการใช้เครื่องมือช่วย หายใจ แต่จะมีการตรวจสอบระบบความโันโลหิตตลอดการรักษา

การให้ยาเพื่อกดระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วยลง โดยจะรับรู้ต่อสิ่งกระตุ้นได้ยากขึ้น แต่ยังคงตอบสนองต่อ การกระตุ้นซ้ำๆหรือความเจ็บปวดอยู่ ระบบการหายใจอาจไม่สมบูรณ์จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วยหายใจ และต้องคอยสังเกตระบบความดันโลหิตตลอดการรักษา

 

การให้ยาเพื่อระงับการรู้สึกตัวของผู้ป่วยอย่างสมบูรณ์ ผู้ป่วยจะไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆรวมถึงความเจ็บ ปวด ต้องมีการใช้เครื่องมือช่วยหายใจ และดูและระบบความดันโลหิตอย่างใกล้ชิดตลอดการรักษา

 
การให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย

คุณมีภาวะกังวลหรือกลัวการทำฟันหรือไม่?

มาดูทางเลือกที่จะช่วยลดภาวะดังกล่าวให้กับคุณกัน

Nurse Dental Fear

การให้ยาคลายความกังวลระดับกลาง จะอยู่ภายใต้การดูแลของวิสัญญีแพทย์/ทันตแพทย์หรือพยาบาลที่ได้รับอนุญาตในโรงพยาบาลเท่านั้น

การให้ยาคลายความกังวลระดับลึกรวมถึงการวางยาสลบ จะอยู่ภายใต้การดูแลของวิสัญญีแพทย์เท่านั้น

เกี่ยวกับเรา

ภาพรวมของโรงพยาบาล

สิ่งอำนวยความสะดวก

บนพื้นที่ 5,933 ตารางเมตร
อาคาร7ชั้น
33 ห้องทันตกรรม
2 ห้องทันกรรมแบบVIP
1 ห้องฉุกเฉิน
1 ห้องผ่าตัด
2 เตียงพักฟื้นและสังเกตอาการหลังผ่าตัด(PACU)
4 ห้องผู้ป่วยใน
1 ห้องปรึกษาแผนการรักษา
4 ห้องรังสีวินิจฉัย2มิติและ3มิติระบบดิจิตัล
2 ห้องประชุมเล็ก
1 ห้องประชุมใหญ่
ที่จอดรถชั้นใต้ดิน
ห้องน้ำผู้พิการ

กระบวนการด้านความสะอาดและความปลอดภัย

-แผนกส่วนกลางปราศจากเชื้อ
-ระบบป้องกันอัคคีภัย
-ระบบควบคุมควันไฟให้จำกัดในเฉพาะพื้นที่
-ระบบควบคุมคุณภาพน้ำส่วนกลาง
-ระบบการตรวจสอบและบรรจุเครื่องมือทางการแพทย์
-มีการดูแลทั้งขั้นตอนการบรรจุ,สังเกต,จัดเก็บ และแจกจ่ายอุปกรณืปราศจากเชื้อ

การดูแลในการรับมือกับความกังวลในการทำฟัน

dental sedation

วิสัญญีแพทย์

จะคอยดูแลผู้ป่วยตลอดภาวะการคลายความกังวลระดับกลางไปจนถึงการวางยาสลบ

BIDH Nurses

พยาบาลวิชาชีพ

คอยดูแลผู้ป่วยขณะพักเป็นผู้ป่วยใน

post anesthesia care unit

ห้องสังเกตอาการ/พักฟื้น

หลังการให้ยาคลายความกังวลระดับลึกหรือยาสลบ ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลในห้องสังเกตอาการหรือPACU ซึ่งพร้อมด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็น

การรักษาทางทันตกรรมภายใต้การให้ยาคลายความกังวล

โรงพยาบาลทันตกรรมของเราให้บริการการให้ยาคลายคลามกังวลหลายระดับ

1. การรักษาที่มีความซับซ้อนหรือยาก

ทำภายใต้การดมยาสลบในห้องผ่าตัดใหญ่ :

2. ภาวะกลัวและกังวลการทำฟัน

สำหรับผู้ป่วยที่มีความกังวลหรือกลัวการทำฟัน การทำฟันทั่วไปเช่นการอุดฟัน,ขูดหินปูน ก็สามารถเลือกใช้ยาคลายความกังวลระดับแรกหรือระดับกลางได้

บริการการดมยาสลบ Sedative Dentistry

ระดับทางให้บริการการดมยาสลบขึ้นอยู่กับ ความวิตกกังวล ความกลัวทำฟันของคนไข้ และประเภทของการรักษา

วิดีโอบริการการดมยาสลบ

หลักกระบวนการรักษาภายใต้การให้ยาคลายความกังวล

ที่โรงพยาบาลทันตกรรมกรุงเทพBIDH มีประสบการณ์การให้ยาคลายความกังวลและเป็นมาตรฐานระดับโรงพยาบาลเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยทุกคนจะได้รับประสิทธิภาพและปลอดภัยจากการใช้ยาคลายกังวล

ต่างจากคลินิกหรือศูนย์ทันตกรรมอื่นๆ โรงพยาบาลทันตกรรมของเรามีวิสัญญีแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาตมาคอยดูแลตลอดการให้ยาคลายความกังวลระดับกลางจนถึงการดมยาสลบ มีการให้ยานำโดยการกิน เพื่อประเมินและเตรียมผู้ป่วยก่อน

จำเป็นต้องมีการนัดหมายล่วงหน้า ถ้าคุณสนใจจะใช้ยาคลายความกังวล

ก่อนเริ่มการให้ยาคลายความกังวล ผู้ป่วยจะได้รับการซักประวัติทางสุขภาพ ตรวจร่างกาย ประวัติความเจ็บป่วย ผลตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงอาจต้องถ่ายภาพรังสีทรวงอกและคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการอธิบายถึง วิธีการการให้ยาชา ผลดี ผลเสีย ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น คุณจะได้รับทราบถึงทางเลือกและค่าใช้จ่ายโดยประมาณ และลงนามในหนังสือยินยอมรับการรักษาก่อนได้รับยาคลายความกังวล

อุปกรณ์ทางการแพทย์จะถูกจัดเตรียมให้พร้อมก่อนเริ่มให้ยา :

  1. ระบบจ่ายออกซิเจน
  2. หน้ากากหรือสายช่วยหายใจ
  3. เครื่องมือเปิดทางเดินหายใจและท่อช่วยหายใจ
  4. เครื่องดูดของเหลว
  5. อุปกรณ์เปิดหลอดเลือดดำ
  6. หน้าจอแสดงผลสัญญาณชีพ
  7. ยาฉุกเฉิน
  8. ระบบส่งต่อ
  9. รถเข็นที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์พร้อมเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ

อุปกรณ์ทุกชิ้นได้รับการเตรียมโดยเฉพาะ ทั้งขนาดที่เหมาะสมกับร่างกายและอายุของผู้ป่วย

medical equipment sedation

อุปกรณ์ทางการแพทย์

จัดเตรียมยาและอุปกรณ์สำคัญสำหรับการใช้ยาคลายความกังวลขณะทำฟัน

1. ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลดังนี้:

1.1 ระดับของความู้สึกตัว การสังเกตสภาวะความรู้สึกตัวทำเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยยังคงตอบสนองต่อคำสั่งหรือการสัมผัส ถ้าผู้ป่วยไม่ตอบสนอง อาจหมายความว่าระดับของยาคลายความกังวลอาจส่งผลให้ผู้ป่วยหลับลึกและอาจส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ
1.2 ความเข้มข้นของระดับออกซิเจนในเลือด จะถูกตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอโดยใช้เครื่องมือวัดซึ่งจะส่งเสียงบ่งบอกสถานะ และเปลี่ยนแปลงตามระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด
1.3 ระบบการหายใจและอัตราการหายใจ จะถูกตรวจสอบโดยการสังเกตจังหวะและเสียงของการหายใจตลอดเวลา (ถ้าไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง จะมีเครื่องมือวัดระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการหายใจ)
1.4 ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ จะถูกตรวจสอบทั้งก่อนและขณะทำหัตถการทุกๆ5นาที
1.5 คลื่นไฟฟ้าหัวใจ จะถูกตรวจสอบเพื่อดูแรงบีบส่งเลอดออกของหัวใจ รวมถึงทุกๆหัตถการที่อาจส่งผลให้เกิดการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ

สังเกตและบันทึกทุกรายการข้างต้นตามมาตรฐาน:

    • ก่อนให้ยาชาหรือยางคลายความกังวล
    • หลังให้ยาชาหรือยางคลายความกังวล
    • ทุกๆ5นาทีขณะทำหัตถการ
    • ตลอดช่วงการพักฟื้นหลังตื่นจากยาคลายความกังวล
    • ก่อนอนุญาตให้ออกจากห้องพักฟื้น

2. เราใส่ใจในการดุแลมากขึ้น

ทั้งคุณหมอและพยาบาลที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการดูแลผู้ป่วยของเรา ผ่านการฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและยังสามารถที่จะ

  • ช่วยตรวจสอบสัญญาณชีพและความผิดปกติต่างๆ
  • สามารถจัดการต่อสิ่งผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น
  • มีความรู้เรื่องยาที่จะใช้ในกรณีต่างๆ
  • ดูแลเรื่องการฟื้นตัวของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี

ผู้ป่วยของเราจะได้รับการดูแลภายใต้มาตรฐานของสมาคมวิสัญญีแพทย์ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา

การดูแลผู้ป่วย : หลังหัตถการต่างๆ : ช่วงพักฟื้นเตรียมกลับบ้าน

  1. ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจประเมินถึงการฟื้นตัวในระดับต่างๆ ก่อนการย้ายมาห้องพักผู้ป่วยในหรือกลับบ้าน
  2. ผู้ป่วยที่เพิ่งฟื้นตัวจากการใช้ยาคลายความกังวลระดับกลางจนถึงการวางยาสลบ จะถูกย้ายมายังห้องพักฟื้นเพื่อสังเกตอาการให้คงที่ก่อน
  3. ผู้ป่วยที่ถูกย้ายมาห้องพักฟื้น จะได้รับการดูแลจากพยาบาลที่ทราบภาวะของผู้ป่วยเป็นอย่างดี และจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดไปตลอดการอยู่ในห้องพักฟื้น
  4. ในส่วนของห้องพักฟื้น จะมีการตรวจเชคสัญญาณชีพ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด อัตราการหายใจรวมถึงระดับความรู้สึกตัว ทุกอย่างนี้จะถูกจดบันทึกตลอดจนผู้ป่วยออกจากห้องพักฟื้น
  5. ในส่วนของห้องพักฟื้น : อุปกรณ์การดูแลและช่วยชีวิต ในผู้ป่วยเด็กจะมีผู้ที่ผ่านการฝึกช่วยชีวิตขั้นสูงคอยดูแลด้วย
  6. ทีมพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น ล้วนเป็นทีมพยาบาลวิชาชีพที่ผ่านการฝึกอบรมตามมาตรฐาน:
    • ทีมพยาบาลที่ผ่านการฝึกช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ดูแลกรณีผู้ป่วยที่ได้รับยาคลายความกังวลระดับกลาง
    • ทีมพยาบาลที่ผ่านการฝึกช่วยชีวิตขั้นสูง ดูแลกรณีผู้ป่วยได้รับยาคลายความกังวลระดับลึกหรือวางยาสลบ
    • ทีมพยาบาลที่ผ่านการฝึกช่วยชีวิตขั้นสูงในเด็ก ดูแลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับยาคลายความกังวลระดับกลางจนถึงการวางยาสลบ
  7. พยาบาลที่ดูแลในห้องพักฟื้น จะบันทึกข้อมูลสภาวะต่างๆของผู้ป่วยตลอด รวมถึงเวลาเข้า-ออกจากห้องพักฟื้นด้วย

การที่เราจะปล่อยให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้นั้น ผู้ป่วยจะต้องผ่านเกณฑ์ต่างๆ ไม่อย่างนั้นผู้ป่วยยังคงต้องอยู่ในห้องพักฟื้นต่อไปจนอาการคงที่และมาพักต่อที่ห้องพักผู้ป่วยใน

เกณฑ์ในการประเมินก่อนให้ผู้ป่วยกลับบ้าน

  1. เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยตามเกณฑ์
    • อยู่ในห้องพักฟื้นอย่างน้อย1ชั่วโมง
    • อุณหภูมิร่างกายคงที่
    • สารคัดหลั่งใส
    • มีสติ พูดคุยรู้เรื่อง และความจำกลับมาปกติเหมาะสมตามช่วงอายุ
    • เริ่มกินอาหารเหลวหรืออ่อนๆได้ตามแพทย์สั่ง
    • สามารถเดินหรือเคลื่อนย้ายได้
  2. ทางโรงพยาบาลจะดูแลอย่างเหมาะสมก่อนผู้ป่วยกลับบ้าน
  3. ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำเรื่องโภชนาการ ยา และข้อปฏิบัติตัวต่างๆ กรุณาติดต่อเราหากมีกรณีฉุกเฉิน
In-patient counter

ชั้นสอง: ห้องพักผู้ป่วยใน

สอบถามค่าใช้จ่ายในการใช้ยาคลายความกังวล

ตรวจและรับคำปรึกษาเบื้องต้นโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

โดยสรุป

เรามีความหลากหลายทางด้านการให้ยาคลายความกังวลเพื่อการทำหัตถการต่างๆ สามารถสอบถามเบื้องต้นกับเจ้าหน้าที่ของเราในเรื่องของชนิดของยาชา/ยาคลายความกังวลที่เหมาะสมกับคุณ ก่อนที่จะทำนัดปรึกษากับทันตแพทย์ของเราเพื่อวางแผนการรักษาในลำดับต่อไป

Sukhumvit Dental Hospital

โรงพยาบาลและสิ่งอำนวยความสะดวก

สุขุมวิทซอย 2

รายละเอียดเพิ่มเติม
Dental Sterilization

การควบคุม Sterilzation

ฝ่ายปราศจากเชื้อ Central Supply (CSSD)

รายละเอียดเพิ่มเติม
Digital Dentistry Concepts

แนวคิดทันตกรรมดิจิทัล

CT Scan Digital Flow & Digital Smile Design

รายละเอียดเพิ่มเติม

ห้องปฏิบัติการทันตกรรมดิจิตอล

สแกนอัตโนมัติ & CAD / CAM อัตโนมัติ

รายละเอียดเพิ่มเติม
dental operating theatre

ห้องปฏิบัติการ

ทันตกรรมนอนหลับ

รายละเอียดเพิ่มเติม
Dental Technology

เทคโนโลยีทางทันตกรรม

เทคโนโลยีล้ำสมัย

รายละเอียดเพิ่มเติม
กลับไปด้านบน