ทันตกรรมภายใต้การดมยาสลบ

การให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย (General Anesthesia)
การให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย (General Anesthesia : GA) เป็นวิธีที่ใช้เพื่อทำให้ผู้ป่วยหลับ ปราศจากความกังวลและความกลัว ผู้ป่วยจะไม่สามารถจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผ่าตัดได้ด้วยการให้ยาระงับความรู้สึก มีการสูดดมยาสลบเข้าทางระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย
การได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย (General Anesthesia) มีประโยชน์อย่างไร
- ช่วยลดความกังวลและความไม่สุขสบาย หรือความเจ็บปวดที่เกิดจากการรักษา
- ทำให้การรักษาทำได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
- ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถจำเหตุการณ์ในระหว่างการรักษาในบางส่วนหรือทั้งหมดได้เป็นการชั่วคราวในระหว่างที่ยาออกฤทธิ์

1. การเตรียมตัวก่อนการให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย หรือการดมยาสลบ (General Anesthesia)
- งดน้ำและอาหารทุกชนิด หลังเที่ยงคืนของก่อนวันนัด (อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง) เพื่อป้องกันปัญหาการสำลักอาหารระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึก
- ทำความสะอาดร่างกายให้สะอาด เช่น อาบน้้า สระผม เพื่อลดการติดเชื้อ ก่อนวันนัดผ่าตัด
- ถอดแว่นตา คอนแทคเลนส์ สิ่งของมีค่า เครื่องประดับทุกชนิด เช่น แหวน สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ต่างหู เพราะจะทำให้เป็นสื่อการนำไฟฟ้า ท้าให้อันตราย ขณะผ่าตัด รวมทั้งอาจสูญหายได้
- ถอดฟันปลอม เนื่องจากการผ่าตัดต้องดมยาสลบ หรือต้องใส่อุปกรณ์ในช่องปาก ทำให้ฟันปลอมอาจจหลุดเข้าไป ในหลอดลมเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจได้
- งดทาเล็บ เนื่องจากขณะทำการผ่าตัด จะมี การวัดปริมาณ ออกซิเจนในร่างกายติดไว้ที่ปลายเล็บเพื่อ ประเมินภาวะการขาดออกซิเจนในเลือดขณะผ่าตัด ซึ่งจะทำให้รบกวนสัญญาณการจับค่าปริมาณออกซิเจนในเลือดได้
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทำใจให้สบาย ไม่วิตกกังวล หรือเครียด
ถ้ามีประวัติการเจ็บป่วยทั้งปัจจุบัน และอดีต เกี่ยวกับโรคประจำตัว การใช้ยา การแพ้ยา กรุณาแจ้ง พยาบาลหรือแพทย์ทราบหากคุณมีอาการไอ เป็นหวัด หรือเป็นไข้หวัดก่อนทำหัตถการ หรือสงสัยอาจตั้งครรภ์ ในช่วงสัปดาห์ก่อนวันนัดทำหัตถการผ่าตัด กรุณาแจ้งทีมแพทย์ /เจ้าหน้าที่ รพ.ทราบ เพื่อพิจารณาว่าคุณสามารถเข้ารับการดมยาสลบต่อไปได้หรือไม่
2. การให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย หรือการดมยาสลบ (General Anesthesia) ในวันผ่าตัด มีลำดับขั้นตอนดังนี้
- วิสัญญีแพทย์จะทำการประเมินผู้ป่วยก่อนทำการผ่าตัดอีกครั้ง โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่นผลตรวจเลือดทั่วไป ภาพฉายรังสีทรวงอก รวมทั้งคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น หากผู้ป่วยมีความกังวลหรือมีข้อสงสัยใดๆ สามารถสอบถามกับวิสัญญีแพทย์ได้
- ผู้ป่วยต้องทำการเปลี่ยนชุดใหม่ หรือเสื่อผ้าที่สะอาด ที่โรงพยาบาลได้จัดเตรียมไว้ให้ก่อนเข้าห้องผ่าตัด
- หลังจากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่นำส่งผู้ป่วยเข้าไปที่ห้องผ่าตัด โดยมีทีมวิสัญญีแพทย์ วิสัญญีพยาบาล ทันตแพทย์ ผู้ช่วยทันตแพทย์ และพยาบาล ที่เตรียมพร้อมให้การรักษาเป็นไปตามขั้นตอนที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย
- เมื่ออุปกรณ์ทางการแพทย์ และทีมห้องผ่าตัดพร้อม สำหรับเริ่มทำหัตถการ/การผ่าตัดแล้ว วิสัญญีแพทย์จะเริ่มทำการให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย หรือการดมยาสลบโดยมีขั้นตอนคือ
- วิสัญญีแพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำกับผู้ป่วย
- วิสัญญีแพทย์จะเริ่มให้ผู้ป่วยดมยาสลบ โดยผ่านการสูดดมก๊าซเข้าไป ด้วยการหายใจ ผ่านหน้ากากครอบ โดยใช้เครื่อง ดมยาสลบ
ระหว่างการได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย หรือการดมยาสลบ (General Anesthesia)
เป็นการให้ยาเพื่อระงับความรู้สึกตัวของผู้ป่วยอย่างสมบูรณ์ ผู้ป่วยจะไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆรวมถึงความเจ็บปวด ต้องมีการใช้เครื่องมือช่วยหายใจ และดูและระบบสัญญาณชีพ การหายใจ ชีพจร ความดันโลหิต อย่างใกล้ชิดตลอดเวลาการผ่าตัด การให้ยาระงับความรู้สึก ยาคลายความกังวลระดับลึกรวมถึงการดมยาสลบนี้ เพื่อความปลอดภัยจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของวิสัญญีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

หลังการได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายหรือการดมยาสลบ (General Anesthesia)
- ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลต่อในห้องพักฟื้น ( PACU) จนกว่าจะได้รับการประเมินว่าปลอดภัยดี โดยมีระยะเวลาสังเกตอาการต่อที่อยู่ในห้องพักฟื้นประมาณ 2 ชั่วโมง หรืออาจนานกว่านั้นในกรณีที่ผู้ป่วยยังรู้สึกตัวไม่มาก หรือยังตื่นไม่เต็มที่
- ยาระงับความรู้สึก หรือยาสลบที่ได้รับในระหว่างการผ่าตัดนั้น อาจส่งผลกระทบต่อความจำ สมาธิ และปฏิกิริยาตอบสนองต่าง ๆ ของผู้ป่วยเป็นการชั่วคราว ภายใน 1-2 วัน ดังนั้น ผู้ป่วยควรมีผู้คอยดูแลอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหรืออาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นได้
- ผู้ป่วยควรมีสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนพากลับบ้านและสามารถอยู่ดูแลต่ออีกประมาณ 3-4 ชั่วโมง
- ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังได้ยาระงับความรู้สึก หรือยาดมสลบ ผู้ป่วยไม่ควรขับขี่ยานพาหนะหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ควรตัดสินใจกระทำการเรื่องสำคัญหรือเซ็นเอกสารสำคัญใดๆ
- ผู้ป่วยจะสามารถทำกิจวัตรตามปกติได้ในวันถัดไป
ความเสี่ยงของการให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย
การให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายมีความปลอดภัยสูงเมื่อให้โดยผู้เชี่ยวชาญ ความเสี่ยงจากการให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำที่อาจเกิดขึ้นได้แก่ ง่วงมากจนถึงภาวะไม่รู้ตัว หายใจได้น้อยลง รู้สึกไม่สุขสบาย สำลักอาหาร ความดันโลหิตต่ำ หรือแพ้ยา
ทางเลือกอื่น
- ทำการตรวจรักษาโดยไม่ต้องได้รับยา
- การใช้ยาชาเฉพาะที่เพียงอย่างเดียว
- การให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ