ถ้าพูดถึงอาการปวดฟัน คงไม่มีใครอยากเป็น เพราะนั่นหมายความว่าฟันของคุณกำลังส่งสัญญาณมาเตือนว่ากำลังมีปัญหา อาการปวดฟันเป็นอาการที่ใครหลายๆคนรู้สึกกลัว และกังวลแล้วว่าเราจะต้องรักษาอย่างไร จะต้องถอนฟันไหม ยังรักษาด้วยการอุดฟันได้หรือเปล่า หากมีฟันผุควรมาพบทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจและรักษาก่อนที่ฟันผุจะลุกลามจนฟันผุทะลุประสาทฟันซึ่งจะมีอาการปวด และต้องทำการรักษาคลองรากฟันหรืออาจจะต้องถอนฟันออก
เมื่อมีฟันผุและหากจะต้องรักษาโดยการอุดฟัน ขั้นตอนการรักษาเป็นยังไง? จะเจ็บมั้ย? ท่านไม่ต้องกังวลไปค่ะ วันนี้ทางโรงพยาบาลฟัน BIDH จะมาให้ความรู้และข้อแนะนำเกี่ยวกับการอุดฟันให้ได้ทราบก่อนทำการรักษา เพื่อคลายความกังวลและข้อสงสัยกันค่ะ
สิ่งที่ควรรู้ ก่อนอุดฟัน (คลิกอ่านตามหัวข้อ)
การอุดฟัน (tooth filling) คืออะไร
Tooth Filling หรือ การอุดฟัน คือ การรักษาที่มีการนำวัสดุบูรณะฟันไปทดแทนโครงสร้างฟันที่ถูกทำลาย ไม่ว่าจะเป็นการอุดวัสดุลงในรูฟันที่ผุ หรืออุดวัสดุเพื่อทดแทนเนื้อฟันที่สึกหรือกร่อนไป การอุดฟันที่ผุเป็นการรักษาที่สำคัญที่ป้องกันไม่ให้ฟันผุรุกลามหรือผุเพิ่มขึ้น ส่วนการอุดวัสดุเพื่อทดแทนเนื้อฟันที่สึกหรือกร่อนไปจะช่วยป้องกันอาการเสียวฟันที่จะเกิดหากปล่อยให้ฟันสึกหรือกร่อนมากขึ้น และยังช่วยลดอาการเสียวฟันที่เกิดจากการสึกหรือกร่อนของฟันบางชนิดได้
ทำไมเราต้องอุดฟัน?
หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมเราจึงต้องอุดฟัน ทั้งที่ฟันผุบางครั้งเป็นรูขนาดเล็กมาก นั่นคือปัญหาเล็กน้อยที่เรามักจะมองข้าม แต่หากมีฟันผุเป็นรูแล้วเราปล่อยไม่ทำการรักษา ฟันที่ผุจะมีการผุรุกลามจากรูเล็ก ก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นจนเริ่มมีอาการเสียวฟัน และถ้าปล่อยไว้อีกจนฟันผุทะลุประสาทฟันซึ่งจะเริ่มมีอาการปวดฟัน จะไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการอุดฟัน แต่ต้องทำการรักษาคลองรากฟัน
หรือในบางครั้งอาจต้องถอนฟันหากไม่สามารถทำการรักษาคลองรากฟันหรือมีการผุจนสูญเสียเนื้อฟันจนไม่สามารถบูรณะฟันขึ้นมาได้ และหากปล่อยฟันที่ผุจนทะลุประสาทฟันไว้ไม่ทำการรักษาก็อาจเกิดการติดเชื้อเป็นหนองที่ปลายรากฟันและบางครั้งอาจมีการติดเชื้อไปยังเนื้อเยื่อบริเวณขากรรไกรและใบหน้าได้อีกด้วย
และนี่คือคำตอบที่ว่า “ทำไมเราถึงต้องอุดฟัน หรือต้องปิดช่องฟันห่าง”
แล้วถ้าฟันกรามเป็นรู หรือ ฟันกรามแตกอุดได้ไหม?
คำตอบคือ ฟันกรามเป็นรูสามารถอุดได้ และควรอย่างยิ่งที่จะต้องไปอุด เพราะฟันกรามจะทำหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหาร ถ้าฟันซี่ที่สำคัญที่สุดของเราเกิดเป็นรูหรือมีอาการก็จะทำงานได้ไม่ดี รวมถึงฟันที่บิ่น แตกหรือหักไปไม่มากก็สามารถอุดฟัน กรณีที่มีการแตกหรือหักไปมากอาจต้องทำการรักษาโดยการครอบฟัน ส่วนกรณีที่มีฟันห่าง อาจทำการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันเพื่อเพิ่มขนาดฟันจนไม่มีช่องว่างให้เห็นหรืออาจใช้การบูรณะด้วยวีเนียร์เพื่อปิดช่องว่างระหว่างฟัน
ขั้นตอนการอุดฟัน มีอะไรบ้าง
- ทันตแพทย์จะทำการตรวจเช็คสุขภาพฟันก่อนว่ามีปัญหาฟันผุมากน้อยแค่ไหน สามารถทำการอุดฟันเพื่อแก้ไขได้หรือไม่
- ในกรณีที่ฟันผุลึกใกล้โพรงประสาทฟัน ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาเพื่อไม่ให้มีอาการเสียวฟันขณะทำการรักษาและในบางกรณีอาจใส่แผ่นยางกันน้ำลาย
- ทันตแพทย์จะทำการกำจัดเนื้อฟันผุที่ติดเชื้อ และกรอฟันเพื่อเตรียมโพรงฟันให้เหมาะสำหรับการอุด
- ทันตแพทย์ทำขั้นตอนการใส่วัสดุอุดฟันไปที่โพรงฟันหรือบริเวณที่เตรียมไว้ โดยขั้นตอนจะแตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดของวัสดุอุดที่เลือกใช้
- เมื่อทันตแพทย์ใส่วัสดุอุดฟันเสร็จแล้วก็จะทำการแต่งวัสดุให้มีรูปร่างพอดี เช็คการสบฟันให้พอดี และในวัสดุสีเหมือนฟันก็จะมีการขัดแต่งให้สวยงามพร้อมใช้งานได้ในทันที

Photo Credit : Dr.Sornsiri Phoochitpakorn DDS.,
ข้อดีของการอุดฟัน
ข้อดีคือเราไม่ต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไป และยังสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ การอุดฟันนั้นเป็นการแก้ปัญหาไม่ให้ฟันผุลุกลามไปจนถึงขั้นต้องถอนฟัน หรือลามไปจนถึงโพรงประสาทฟันอักเสบ
ข้อเสียของการอุดฟัน
วัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน สามารถเสื่อมหรือหลุดจนฟันอาจกลับมาผุได้อีกครั้ง ดังนั้นหากอุดฟันแล้วเราควรดูแลรักษาและทำความสะอาดฟันอย่างสม่ำเสมอ และถูกวิธี
วัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน ที่โรงพยาบาลฟัน BIDH สุขุมวิท 2
ความแตกต่างของวัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน และประเภทวัสดุที่ใช้อุดฟัน ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน มี 2 ชนิด คือ

A title
Image Box text
1. วัสดุอุดฟันสีเทา/สีเงิน หรือ อมัลกัม (Amalgam)
อมัลกัม [Amalgam] : เป็นวัสดุที่มีความทนทานต่อแรงบด เคี้ยว ได้ดี แต่มีสีไม่สวยงาม จึงนิยมใช้อุดฟันกรามที่อยู่ด้านในแทน
- ราคาไม่แพง
- มีความคงทน แข็งแรงต่อการบดเคี้ยว
- มีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก
- มองเห็นสีวัสดุอุดฟันค่อนข้างชัด
- ไม่เหมาะสำหรับฟันหน้าที่ต้องการความสวยงาม

A title
Image Box text
2. วัสดุอุดฟันสีเหมือนฟัน เช่น คอมโพสิตเรซิน (Composite Resin)
อุดฟันคอมโพสิต : คอมโพสิตเรซิน วัสดุอุดฟันที่มีสีขาวคล้ายเนื้อฟัน จึงดูสวยงาม แต่ไม่ค่อยคงทนเท่ากับ อมัลกัม และยังมีราคาสูงกว่า แต่ให้ผลลัพธ์ด้านความสวยงามที่ดีกว่า
- มีความสวยงาม เนื่องจากมีสีที่เหมือนฟันธรรมชาติ
- สามารถใช้ได้ทั้งฟันหน้า และฟันกราม
- สามารถใช้งานฟันได้ทันที ไม่ต้องรอ 24 ชั่วโมงเหมือนการอุดฟันแบบโลหะ
- มีราคาสูงกว่าแบบโลหะ
- มีความคงทนน้อยกว่าแบบโลหะ
- ง่ายต่อการเกิดคราบจากชา กาแฟ หรือบุหรี่
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการอุดฟันสีเหมือนฟัน หรือ Resin Composite Filling :
การอุดฟันสีเหมือนฟันที่มีความเป็นธรรมชาติ และเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันมากที่สุด สามารถใช้อุดฟันได้ทั้งฟันหน้าและฟันกราม ซึ่งขั้นตอนในการทำนั้นจะมีหลายขั้นตอนกว่าแบบโลหะ ขั้นแรกจะต้องกรอเนื้อฟันที่ผุออกและเตรียมฟันให้มีความเหมาะสมต่อการอุดก่อน แล้วหลังจากนั้นจะทำการใส่วัสดุสีเหมือนฟันเข้าไป ซึ่งขั้นตอนนี้จะทำสลับกับการฉายแสงเพื่อให้วัสดุเกิดการแข็งตัว และหากแข็งตัวแล้วทันตแพทย์จะทำการกรอตกแต่งวัสดุอีกครั้งเพื่อตกแต่งฟันให้สวยงาม
การดูแลตัวเองหลังการอุดฟัน
- หากอุดฟันแบบโลหะจะต้องงดเคี้ยวหรือใช้งานฟันซี่ที่อุด 24 ชั่วโมง เพื่อให้วัสดุอุดฟันแข็งแรง และเข้ารูปเต็มที่
- หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็ง เพื่อป้องกันการแตกหักของวัสดุ
- แปรงฟันอย่างถูกวิธี ควรใช้แปรงสีฟันที่มีขนนุ่ม และใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาด
- หลีกเลี่ยงอาหารที่เย็นหรือร้อนจัด เพื่อเลี่ยงอาการเสียวฟันที่อาจเกิดขึ้นได้
- ควรกลับมาพบทันแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อทำการตรวจสุขภาพฟัน

“การอุดฟัน” ช่วยให้ฟันกลับมาสวยงามเป็นธรรมชาติได้อีกครั้ง
แล้วควรเลือกอุดฟันที่ไหนดี ?
การอุดฟันอย่างปลอดภัย ควรเลือกอุดฟันที่คลินิกหรือศูนย์ทันตกรรมที่ได้มาตรฐานและทำการรักษาโดยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ที่โรงพยาบาลทันตกรรม กรุงเทพ อินเตอร์เนชั่นแนล (Bangkok International Dental Hospital : BIDH) เป็นศูนย์เฉพาะทางทันตกรรมที่มีเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางด้านทันตกรรมขั้นสูงแห่งหนึ่งในประเทศไทย
มีทีมงานที่พร้อมให้บริการอย่างเต็มใจ อีกทั้งยังตั้งอยู่ในย่านใจกลางเมือง คุณจะได้รับคำปรึกษาและการดูแลจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมในโรงพยาบาลเฉพาะทางที่พร้อมบริการและมีอุปกรณ์ครบครันทันสมัยที่สุด
รีวิวทำฟัน ที่โรงพยาบาลฟัน BIDH สุขุมวิทซอย 2

คุณก้อย รัชวิน
(นักแสดง)

คุณดีเจบุ๊คโกะ
(นักแสดงและพิธีกร)

คุณกันต์
(นักแสดงและพิธีกร)

คุณแพรวา ณิชาภัทร
(นักร้องและนักแสดง)

สรุป
การอุดฟันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ถ้าหากเราไม่อยากฟันผุ ถอนฟัน หรืออุดฟันบ่อยๆ ทางออกที่ดีที่สุด คือ เราควรดูแลสุขภาพช่องปากและฟันให้ดี แปรงฟันวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ และที่สำคัญควรไปพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก และฟันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจดูสภาวะช่องปากและฟัน และหากพบความผิดปกติจะได้แก้ไขและทำการรักษาได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ติดต่อเรา โรงพยาบาลฟัน สุขุมวิท ซอย 2
โรงพยาบาลทันตกรรมกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล (BIDH)
98 ซอยสุขุมวิท 2 แขวงคลองเตย, เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
Tel : 02-115-8977, 095-517-1587
Email : contact@dentalhospitalthailand.com
LINE ID : @DentalHospital
Google Maps : โรงพยาบาลฟัน กรุงเทพ BIDH