
ทันตกรรมสำหรับเด็ก เป็นหนึ่งในสาขาการให้รักษาทางทันตกรรมโดยเฉพาะเด็ก หรือ วัยรุ่นตอนต้น ทันตแพทย์เฉพาะทางเด็ก จะทำหน้าที่ให้คำแนะนำการดูแลฟัน และวิธีรักษาป้องกันปัญหาในช่องปากให้กับเด็กๆ
การป้องกัน/ตรวจพบปัญหาในระยะเริ่มต้นเป็นปัจจัยสำคัญในการหลีกเลี่ยงค่ารักษาที่แพง หรือการรักษาที่เจ็บปวดได้ การป้องกันเริ่มด้วยการทำความสะอาดฟันซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เด็กๆ เกิดฟันผุ เหงือกอักเสบ การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี คือการแปรงฟันอย่างถูกวิธี และรับประทานอาหารอย่างสมดุลตั้งแต่ยังเด็กๆ
สารบัญความรู้เกี่ยวกับ ทันตกรรมสำหรับเด็ก [คลิกอ่านตามหัวข้อ]
- เราควรพาเด็ก ๆ มาพบหมอฟันเมื่อไหร่?
- ลักษณะอาการแบบไหน ควรพาลูกไปหาหมอฟัน
- บริการทันตกรรมสำหรับเด็ก
- ราคา & แพ็คเกจทันตกรรมเด็ก (อัปเดต 2566)
- FAQ : คำถามที่พบบ่อยในการทำฟันเด็ก
- ทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็กในกรุงเทพ ฯ
- คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับเด็ก
- ทำฟันเด็ก ที่ไหนดี?
- รีวิวการทำทันตกรรมเด็ก @ โรงพยาบาลฟัน สุขุมวิท BIDH
- สรุป
เราควรพาเด็ก ๆ มาพบหมอฟันเมื่อไหร่?
ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักสงสัยว่าควรพาเด็ก ๆ มาพบหมอฟันครั้งแรกเมื่อไหร่? ข้อมูลจากสมาคมทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กจากสหรัฐอเมริกาแนะนำว่าควรพาเด็กมาพบทันตแพทย์ก่อนอายุ 1 ปี หรือ หลังฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น
การพาลูกๆ มาพบหมอฟันเด็กตั้งแต่อายุน้อยนั้น เป็นการสร้างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพร่างกายที่ดีให้แก่พวกเขา เหมือนกับการฉีดวัคซีนอื่นๆ การพบทันตแพทย์เด็กตั้งแต่เริ่มแรกจะเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีในการทำฟัน เพราะไม่เจ็บปวด ช่วยลดปัญหาความกังวล หรือกลัวการทำฟันในอนาคตได้ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน การทำฟันนั้นสะดวกสบาย และใช้เวลาไม่นาน
ลูกกลัวหมอฟันทำยังไงดี ? คลิปนี้มีคำตอบ
โดยคุณหมอเพิ่มพูน ทันตแพทย์สำหรับเด็ก ที่ศูนย์ทันตกรรมเด็กโรงพยาบาลฟัน BIDH
ลักษณะอาการแบบไหน ควรพาลูกไปหาหมอฟัน
หากคุณพบรอยสีน้ำตาล หรือรูสีดำ ลูกของคุณอาจจะมีฟันผุ ฟันผุเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการสูญเสียฟันในเด็ก การเกิดฟันผุในเด็กอาจมีหลายสาเหตุ แต่หลักๆแล้วเกิดมาจากการสะสมคราบอาหารที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้หมด

- รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลสูง
- วัสดุอุดเก่าหลุดไป
- คราบอาหารเกาะเครื่องมือจัดฟันหรือรีเทนเนอร์
- การให้เด็กดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือหลับคาขวดนม
- พ่อแม่อาจส่งต่อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุ เช่นเป่าอาหารให้เย็นหรือเคี้ยวอาหารแล้วนำมาป้อนเด็ก
- ลูกของคุณอาจมีฟันที่ผิดปกติและเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุอยู่แล้ว
ฟันผุสามารถเกิดได้บนผิวฟัน ระหว่างซอกฟัน หรือตามแนวขอบเหงือก หากคุณสังเกตเห็นร่องรอยดังกล่าว ควรรีบพาพวกเขามาพบทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กเพื่อตรวจและทำการรักษาก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาลุกลามได้ แม้ว่าสุดท้ายแล้วฟันน้ำนมจะหลุดออกและถูกแทนที่ด้วยฟันแท้ก็ตาม ก็ควรจะรักษาฟันน้ำนมเอาไว้ให้ดีเพื่อที่เด็กๆจะได้เคี้ยวอาหารได้อย่างสมบูรณ์ก่อนจะถึงเวลาที่ฟันแท้ขึ้นมา
ฟันผุสามารถเริ่มเกิดขึ้นที่ผิวฟันด้านหนึ่งและขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งสามารถทำให้เกิดความเสียหายอย่างถาวรได้ภายใน6เดือน ส่งผลให้มีอาการเสียวฟัน และหากปล่อยทิ้งไว้ ไม่อุดฟัน อาจจะแย่ลงจนต้องทำครอบฟันก็เป็นได้
บริการทันตกรรมสำหรับเด็ก

ในการตรวจสุขภาพฟันประจำปี ทันตแพทย์จะช่วยตรวจจุดที่อาจจะมีฟันผุ และขัดฟันทำความสะอาดให้ เมื่อปัญหาของฟันถูกพบในระยะเริ่มต้น การรักษาจะง่ายและไม่เจ็บปวด ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กของเราถูกฝึกมาโดยเฉพาะในการรักษาเด็กเล็ก ถ้าลูกของคุณกลัวการทำฟัน จะเป็นการดีอย่างมากที่จะพามาพบทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็ก
หมอฟันเด็กจะประเมินการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรร่วมกับฟัน มีการดูเรื่องของฟันน้ำนมที่จะหลุด และฟันแท้ที่จะขึ้นตามช่วงอายุ เด็กบางคนอาจมีพฤติกรรมดูดนิ้วมือเหมือนตอนเป็นทารก เนื่องจากทำให้รู้สึกปลอดภัยและมีความสุข โดยปกติแล้วเด็ก ๆ จะเลิกดูดนิ้วมือไปเองหลังอายุ 2 ปี
แต่บางคนยังติดการดูดนิ้วมือยู่จนทำให้การเจริญเติบโตของฟัน และกระดูกขากรรไกรผิดปกติ ประเด็นนี้จะได้รับการดูแลจากทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กต่อไป อาจจำเป็นต้อง x-ray ฟันในบางครั้งเพื่อดูการเจริญเติบโตของโครงสร้างกระดูกและฟัน ฟันผุที่อาจซ่อนอยู่ ไปจนถึงฟันที่ยังไม่ขึ้น หรือขึ้นไม่ได้ ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กจะแนะนำให้พบทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันในกรณีที่มีปัญหาเรื่องการสบฟันที่ผิดปกติ
การเคลือบหลุมร่องฟันเป็นการทำให้หลุมร่องฟันที่ลึก ตื้น และเรียบขึ้น จึงช่วยลดการสะสมของคราบอาหาร แต่ไม่ใช่เป็นข้ออ้างในการไม่แปรงฟันให้สะอาด เด็ก ๆ ยังคงต้องแปรงฟันอย่างดีเพื่อกำจัดคราบอาหารออกให้หมด การเคลือบหลุมร่องฟันอาจจำเป็นต้องทำซ้ำบ้างหากหลุดออกออก
การเคลือบหลุมร่องฟันสามารถทำได้ทั้งฟันน้ำนม และฟันแท้ ถือเป็นวิธีการป้องกันฟันผุที่ดี
การสบฟันที่ผิดปกติคือการที่กระดูกขากรรไกรบนและล่างมีตำแหน่งไม่สัมพันธ์กัน หรือเป็นที่ฟันเรียงตำแหน่งไม่เหมาะสม การสบฟันที่ผิดปกติสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะสามารถตรวจพบได้ในช่วงอายุ 6-12 ปี เมื่อฟันแท้ขึ้น มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดการสบฟันผิดปกติที่เราสามารถทำการรักษาได้
หากลูกของคุณมีฟันซ้อนเก ฟันห่าง หรือฟันบน-ล่างไม่กัดกันแน่นอย่างเหมาะสม ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กจะทำการสังเกต ตรวจวินิจฉัยและปรึกษาการรักษาร่วมกันกับทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน ในขณะที่เด็กยังอายุไม่มาก หรืออาจส่งต่อทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันเพื่อทำการรักษาต่อเลยหากเด็กโตมากแล้ว
เด็ก ๆ ก็สามารถเป็นโรคเหงือกอักเสบได้ อาการแสดงเริ่มแรกมีทั้งเหงือกบวมหรือมีเลือดออกง่าย โรคเหงือกอักเสบเกิดจากการที่แบคทีเรียในคราบพลัคซึ่งไม่ได้แปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟันออกจนสะอาด ถ้าไม่รีบรักษาในระยะแรก อาจส่งผลให้สูญเสียฟันแท้ในเด็กโตได้
การขูดหินปูน ขัดฟัน เคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์จะช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียซึ่งก่อให้เกิดการระคายเคืองที่เหงือกหรือฟันผุ และยังช่วยให้เด็กๆมีสุขภาพช่องปากที่ดีได้
ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กจะแนะนำให้ทำเครื่องมือกันฟันล้ม ในกรณีที่ลูกของคุณสูยเสียฟันน้ำนมไปก่อนเวลาที่เหมาะสม เครื่องมือนี้จะคงช่องว่างไว้เพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาในตำแหน่งดังกล่าว
การมีอยู่ของฟันน้ำนมจะเป็นตัวช่วยในการเจริญของฟันแท้ กระดูกขากรรไกรและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง ในบางกรณีที่ช่องว่าที่ฟันน้ำนมถูกถอนไป ไม่ได้ถูกคงสภาพไว้ ฟันอาจล้มเข้าหาช่องว่างและอาจต้องจัดฟันในอนาคต เครื่องมือกันฟันล้มช่วยป้องกันฟันผิดตำแหน่ง ฟันงอกเกิน ฟันฝังหรือฟันซ้อนเกในชุฟันแท้ได้ แต่ไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนที่ถอนฟันน้ำนมจะต้องใส่เครื่องมือกันฟันล้ม คุณควรพาลูกของคุณมารับคำแนะนำจากทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กดูก่อน
หากลูกของคุณเป็นเด็กซุกซน ชอบเล่นผาดโผน ฟันยางจะช่วยป้องกันอันตรายให้กับฟัน ริมฝีปาก กระพุ้งแก้มและลิ้นของลูกน้อยให้ปลอดภัยในกิจกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจมีการกระแทกส่วนของใบหน้าและฟัน การใส่ฟันยางจะช่วยป้องกันแรงกระแทกที่อาจส่งผลให้กระดูกขากรรไกรหักได้ ซึ่งฟันยางนั้นมีทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบที่ทำขึ้นเฉพาะบุคคล
ถึงแม้ว่าเราจะพยายามป้องกันแล้ว แต่หากลูกของคุณยังได้รับอุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บที่ฟันหรือกระดูกขากรรไกร คุณควรพาลูกของคุณมาพบทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กทันที หากมีฟันหลุดออกมา ให้นำฟันกลับเข้าเบ้าฟันที่เดิมในขณะที่รีบมาที่โรงพยาบาล ซึ่งในบางกรณี ฟันอาจมีการติดกลับได้เองภายใน 30 นาที
แต่ถ้าหากไม่สามารถนำฟันใส่กลับเข้าที่เดิมได้ ให้เก็บฟันในนมจืด หรือ น้ำสะอาดแล้วรีบมาโรงพยาบาลโดยไม่ต้องล้างหรือถูทำความสะอาดฟัน

ทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็ก ในกรุงเทพฯ
ที่โรงพยาบาลทันตกรรมกรุงเทพ BIDH ทันตแพทย์ที่ให้การรักษาเด็ก เป็นทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็กโดยตรง ให้การดูแลสุขภาพช่องปากแก่เด็กตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นไปจนถึงวัยรุ่นตอนต้น และจะได้รับการดูแลต่อโดนทันตแพทย์ทั่วไปเมื่ออายุครบ 18 ปี
ทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็กของเรา เป็นทันตแพทย์ผู้จบหลักสูตรทันตแพทย์จากสถาบันที่ได้รับการรับรองในประเทศไทยและเรียนต่อเฉพาะทางสาขาทันตกรรมสำหรับเด็กต่ออีก 2-3 ปี จึงทำให้สามารถให้การรักษาลงลึกไปในรายละเอียดที่สำคัญของเด็กได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาคลายความกังวลสำหรับเด็ก การจัดฟันในเด็ก รวมไปถึงการปรับพฤติกรรมทางจิตวิทยา และพัฒนาการสำหรับเด็กอีกด้วย
ทันตแพทย์สำหรับเด็ก โรงพยาบาลฟัน สุขุมวิท ซอย 2

ทพ. เพิ่มพูน เจริญทำนุกิจ DDS.,
ทันตแพทย์สำหรับเด็ก, ทันตแพทย์ทั่วไป
- ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- กำลังศึกษาต่อระดับวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (ทันตกรรมสำหรับเด็ก) มหาวิทยาลัย มหิดล
- Certificate of Attendance of International Exchange program (Pediatric Dentistry); Tufts University School of Dental Medicine.
- อังกฤษ
- ไทย

ผศ. ดร.ทพญ.วรางคณา จิรรัตนโสภา DDS., MSC.,
ทันตแพทย์สำหรับเด็ก, ทันตแพทย์ทั่วไป
- ประกาศนียบัตรทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก มหาวิทยาลัยมหิดล
- Certificate in Clinical Dentistry (Pediatric Dentistry), University of Queensland, Australia
- วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาทันตกรรมเด็ก มหาวิทยาลัยมหิดล
- ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- วุฒิบัตร (ทันตกรรมสำหรับเด็ก) ทันตแพทยสภา
- อังกฤษ
- ไทย

ทพญ.ศศิพิมล จันทร์รัตน์ DDS., MSC.,
ทันตแพทย์สำหรับเด็ก, ทันตแพทย์ทั่วไป
- ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- วิทยาศาตร์มหาบัณฑิต สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก มหาวิทยาลัยมหิดล
- วุฒิบัตร สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก ทันตแพทยสภา
- อังกฤษ
- ไทย
ทำฟันเด็ก ที่ไหนดี – แผนกทันตกรรมสำหรับเด็กที่โรงพยาบาลทันตกรรมกรุงเทพ BIDH



ที่นี่ เรามีสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆที่เพรียบพร้อม ให้บรรยาการที่ดีสำหรับเด็กๆขณะมาตรวจสุขภาพฟันประจำปี รวมถึง
- ห้องทำฟันสำหรับเด็กที่ตกแต่งห้องเพื่อเด็กโดยเฉพาะ
- มุมของเล่น
- เครื่องมือทำฟันเด็กโดยเฉพาะ
- x-rayระบบดิจิตอล เป็นรุ่นที่ใช้ปริมาณรังสีน้อยที่สุดรุ่นหนึ่งในโลกเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยทุกท่าน
ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กที่โรงพยาบาลทันตกรรมกรุงเทพ BIDH เรามีการบันทึกและติดตามพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงของฟัน ซ้อนเกมากเกินไป รวมถึงการเจริญเติบโต ถ้าคุณหรือทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กของคุณพบความผิดปกติที่เกิดขึ้น จะได้มีการดูแลส่งต่อในสาขาเฉพาะทางนั้น ๆ ต่อไป
คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับเด็ก
ในฐานะผู้ปกครอง ท่านสามารถช่วยให้เด็กมีสุขภาพฟัน เหงือก และรอยยิ้มที่ดีได้ดังนี้ :
- สำหรับทารก หลังการให้นมแล้ว ทำควาสะอาดช่องปากโดยใช้ผ้าก๊อซสะอาดเช็ดที่เหงือกเบาๆให้ทั่ว
- เมื่อฟันซี่แรกขึ้น ให้ดื่มน้ำก่อนนอน ไม่ให้นมหรือขนมหวานสัมผัสฟันนานๆ
- คุณต้องเริ่มทำความสะอาดฟันให้ลูกเมื่อฟันซี่แรกขึ้น และสอนให้พวกเค้าแปรงฟันด้วยตัวเองได้ วิธีการแปรงฟันจะเปลี่ยนไปเมื่อเด็กๆสามารถควบคุมกล้ามเนื้อการทำงานได้ดีขึ้น
- พาเด็กๆไปพบทันตแพทย์ โดยเริ่มได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน หรือ ฟันซี่แรกขึ้นได้เลย
- แนะนำให้พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน แต่ความถี่นั้นทันตแพทย์จะดูถึงพฤติกรรมและสุขภาพในช่องปากที่ต้องติดตาม
- พฤติกรรมการกินอาหารที่ดี ส่งผลถึงสุขภาพฟันที่ดี เลือกอาหารว่างที่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์เช่นผักผลไม้ โยเกิร์ต เนยแข็งซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายและฟันของเด็กๆ
ทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็กอาจให้คำแนะนำแก่คุณ และเด็กในขณะทำฟัน อย่างไรก็ตามผู้ปกครองมีส่วนสำคัญในการสอน และเป็นตัวอย่างแก่เด็ก ๆ อย่างมาก ด้วยการร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครองและทันตแพทย์จะช่วยให้เด็กโตขึ้นมาพร้อมสุขภาพฟันที่ดี
รีวิวการทำทันตกรรมสำหรับเด็ก ที่โรงพยาบาลฟัน สุขุมวิท BIDH
ที่ BIDH เรามีความพร้อมในการทำฟันทุกด้าน
- ทีมทันตแพทย์เฉพาะทางทันตกรรมสำหรับเด็ก
- อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เฉพาะกับเด็ก
- ทีมเจ้าหน้าฝ่ายสนับสนุนพร้อมเช่น ผู้ช่วยทันตแพทย์, พยาบาล
- สถานที่ถูกออกแบบให้มีบรรยากาศที่ผ่อนคลาย
ทันตแพทย์เด็กที่โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH ได้รับการฝึกพิเศษในการดูแลฟันของเด็ก มีความรู้ว่าเด็กคิดอย่างไร สามารถช่วยเด็กที่มีความวิตกกังวลทางทันตกรรม ทั้งหมดนี้ก็เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีในการทำฟันให้กับบุตรหลานของท่าน เพื่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่ดีของลูกของคุณในอนาคต
ทันตแพทย์เด็ก ให้บริการ
ในวันเสาร์ อาทิตย์ และ วันจันทร์
FAQ : คำถามที่พบบ่อยในการทำฟันเด็ก
ควรพาเด็กๆมาพบทันตแพทย์ตั้งแต่อายุเท่าไหร่?
พาเด็กๆมาพบทันตแพทย์เมื่อฟันซี่แรกขึ้น ซึ่งมักเป็นช่วงอายุ 6 เดือน- 1 ปี ตามคำแนะนำจากสมาคมทันตกรรมสำหรับเด็กประเทศสหรัฐอเมริกา
ถ้าผ่านช่วงอายุนี้ไปแล้ว แม้ยังไม่มีปัญหาช่องปากใดๆก็ตาม ก็ยังควรพาเด็กๆมาพบทันตแพทย์เพื่อการตรวจช่องปากทั่วไปอยู่ดี ทันตแพทย์จะตรวจได้ละเอียดกว่าเพราะบางครั้งฟันผุมองไม่เห็นได้โดยทั่วไป และยังเป็นการตรวจการขึ้นของฟันว่าเป็นไปตามปกติหรือไม่ด้วย
ราคาทำฟันเด็กเท่าไหร่ จะแพงกว่าปกติมั้ย
ค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันไปตามการรักษา แต่ที่โรงพยาบาลทันตกรรมกรุงเทพBIDH ค่ารักษาจะไม่แตกต่างกันกับในผู้ใหญ่ ค่าใช้จ่ายที่นี่เป็นมาตรฐานและโปร่งใส ซึ่งค่าใช้จ่ายจะถูกคิดตามแผนการรักษาที่ตามที่ผู้ปกครองเลือกหรือต้องการ
การทำการรักษาฟันในเด็กที่โรงพยาบาลนี้ โดยปกติจะส่งต่อให้ทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็กเป็นผู้ดูแลรักษา ซึ่งผ่านการอบรม เชี่ยวชาญทั้งทางการรักษาและจิตวิทยาในการเข้าหาและปรับพฤติกรรมเด็ก
ในเด็กที่เริ่มโตขึ้นแล้ว สามารถเปลี่ยนไปพบทันตแพทย์ทั่วไปหรือทันตแพทย์เฉพาะทางในสาขาที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อไป เช่นการจัดฟัน จะพบทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน หรือการรักษารากฟันก็จะพบทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟันเป็นต้น
ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กต่างจากทันตแพทย์ทั่วไปอย่างไร
ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กมีความชำนาญในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กๆตั้งแต่ช่วงทารกไปจนถึงวัยรุ่น ซึ่งทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กจะถูกฝึกฝนในรายละเอียดในช่องปากของเด็กตามช่วงอายุต่างๆ
ทันตแพทย์ทั่วไปก็สามารถช่วยดูแลป้องกันฟันผุให้กับเด็กได้ แต่ก็ไม่ชำนาญเท่าทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กที่ผ่านการอบรมเพิ่มเติมมาหลายปี อย่างเช่นคุณต้องพาเด็กๆไปพบกุมารแพทย์ เราแนะนำให้คุณพาเด็กๆไปพบทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็กเช่นกัน
สรุป
การพบทันตแพทย์เด็กตั้งแต่เริ่มแรกจะเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีในการทำฟันเด็ก เพราะช่วยลดปัญหาความกังวล หรือ การกลัวการทำฟันของเด็กในอนาคตได้อีกด้วย อีกทั้งเทคโนโลยีสำหรับทันตกรรมที่ทันสมัยในปัจจุบัน การทำฟันนั้นจึงสะดวกสบาย และใช้เวลาไม่นาน
“สำหรับโรงพยาบาลฟัน BIDH ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาทางทันตกรรม
เรามั่นใจว่าผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการรักษาด้วยมาตรฐานความปลอดภัย และมาตราฐานในระดับสากล”
ที่โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH เรามีทีมทันตแพทย์สำหรับเด็ก มีใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งคุณมั่นใจได้ว่าการรักษาของคุณ จะอยู่ในการดูแลของทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรบและมีความเชี่ยวชาญของเฉพาะทางในแต่ละสาขา พร้อมให้คำปรึกษา
ติดต่อเรา โรงพยาบาลฟัน สุขุมวิท
โรงพยาบาลทันตกรรมกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล (BIDH)
98 ซอยสุขุมวิท 2 แขวงคลองเตย, เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
Tel : 02-115-8977, 095-517-1587
Email : contact@dentalhospitalthailand.com
LINE ID : @DentalHospital
Google Maps : โรงพยาบาลฟัน กรุงเทพ BIDH