
การขูดหินปูนและเกลารากฟัน
การขูนหินปูนทำความสะอาดร่องเหงือกเพื่อป้องกันและรักษาอาการเหงือกอักเสบ

การศัลยกรรมตกแต่งเหงือก
การกำจัดเหงือกที่มากเกินไป

ศัลยกรรมเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวของฟัน
การผ่าตัดเหงือกเพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับฟันที่เข้ารับการทำครอบฟัน

ศัลยกรรมปลูกเหงือก
เพิ่มปริมาณความหนาของเหงือกในบริเวณที่เหงือกร่น

การเสริมกระดูก
การเพิ่มกระดูกขากรรไกรในบริเวณที่ไม่สมบูรณ์เพียงพอหรือเพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้ารับการปลูกรากฟันเทียม
การขูดหินปูนและเกลารากฟัน

การขูดหินปูนและเกลารากฟัน คือ ขั้นการทำความสะอาดเหงือกที่ช่วยลดการอักเสบของเหงือกและช่วยรักษาโครงสร้างของฟัน การทำความสะอาดเหงือกมักใช้กับการรักษาโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์
แบคทีเรียที่มีอยู่ตามธรรมชาติในช่องปาก หากมีการเจริญเติบโตในเหงือกเป็นจำนวนมากก็จะก่อให้เกิดผลเสียที่เป็นอันตราย โดยสิ่งนี้จะไปกระตุ้นร่างกายซึ่งทำให้เกิดการอักเสบในเหงือกได้ โดยการอักเสบเรื้อรังของเหงือกจะทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกและเกิดเหงือกร่นได้
หากเป็นโรคปริทันต์หรือมีแนวโน้มสูงที่จะเป็นโรคเหงือกอักเสบ กรุณาพบทันตแพทย์เฉพาะทางโรคเหงือกและปริทันต์ อย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจเช็คสุขภาพของเหงือก
การศัลยกรรมตกแต่งเหงือก

การทำศัลยกรรมตกแต่งเหงือก อาจทำเพื่อช่วยรักษาโรคปริทันต์หรือแก้ไขสภาพเหงือกเพื่อให้เหมาะสมกับโครงสร้างรอบ ๆ ฟัน เพื่อความสวยงามที่ดีขึ้น ขั้นตอนในการรักษาคือการตัด(เหงือก) จากด้านในและด้านรอบๆ ฟัน เพื่อให้ได้รูปทรงร่องเหงือกโดยรวมที่เหมาะสมมากขึ้น
“การยิ้มเห็นเหงือก” ซึ่งบางคนที่มีเนื้อเหงือกเยอะบริเวณรอบ ๆ ฟันบน สามารถรักษาโดยการทำศัลยกรรมตกแต่งเหงือก
ศัลยกรรมเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวของฟัน

ศัลยกรรมเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวของฟันโดยปกติจะทำกับฟันหน้า เพื่อเพิ่มความยาวของฟันหรือมิติของฟันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาก่อนที่จะทำการบูรณะฟัน โดยการทำครอบฟันหรือวีเนียร์ ซึ่งทันตแพทย์อาจจำเป็นต้องกรอฟันของคนไข้
การผ่าตัดเหงือกโดยทั่วไปจะใช้มีดผ่าตัดในการทำศัลยกรรม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นที่น่าพอใจ และหลังจากขั้นตอนการผ่าตัดเสร็จสิ้น ทันตแพทย์จะนัดเพื่อกลับมาตรวจเหงือกอีกครั้งหลังจากได้รับการผ่าตัดไปประมาณ 1-2 สัปดาห์
FAQ : คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตัดเหงือก
A : ทำศัลยกรรมตัดเหงือก ก่อให้เกิดแผลและเกิดกระบวนการอักเสบเหมือนปกติทั่วไป ดังนั้น ผู้เข้ารับการรักษาต้องไม่มีโรคประจำตัวที่มีผลต่อการเกิดแผล การหายของแผล หรือการแพ้ยาชา
A : ถ้าหากเป็นแผลที่เกิดจากการตัดเป็นแผลขนาดเล็ก สามารถหายเองได้ใน 1 อาทิตย์ และไม่ทำให้มีไข้หรืออ่อนเพลียแต่อย่างใด
A : เหงือกเมื่อผ่าตัดอย่างถูกวิธีแล้วจะไม่มีการงอกออกมาได้อีก
A : สามารถทำได้ ขึ้นกับวัตถุประสงค์ของการรักษาการตัดแต่งเหงือกในขั้นตอนขณะนั้น เช่น การตัดแต่งเหงือก
- เพื่อพื้นที่ของฟันในการติดเครื่องมือจัดฟันเพิ่มเติม
- เมื่อพิจารณาแล้วว่า คนไข้ไม่สามารถทำความสะอาดฟันได้ไม่ค่อยดี เนื่องจากเหงือกบวมมาก เหงือกเยอะและอักเสบ
- มีฟันผุ หรือ ฟันแตกใต้ขอบเหงือกในขณะรักษาการจัดฟัน
- มีแผนการรักษาว่าจะทำ ครอบฟัน, วีเนียร์ หลังจากถอดเครื่องมือจัดฟัน
A : การศัลยกรรมตัดแต่งเหงือกไม่เจ็บ เพราะก่อนทำแพทย์จะฉีดยาชา รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ มีความทันสมัย (ตัดเหงือกเลเซอร์ และเครื่องตัดเหงือกไฟฟ้า) และหลังทำการรักษา หากรู้สึกปวดสามารถทานยาแก้ปวดที่เพียงพอ และมีที่ติดแผล (dressing) บริเวณเหงือก ช่วยลดอาการเจ็บได้อย่างดีมาก
การปลูกเหงือก

การปลูกเหงือกมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันภาวะเหงือกร่นและในบางกรณีใช้เพื่อลดภาวะเหงือกร่นที่เป็นอยู่ไม่ให้แย่ลงการปลูกเหงือกที่ประสบความสำเร็จจะต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง มีลำดับขั้นตอนในการตรวจที่ดี เช่นเดียวกันกับการให้ความร่วมมือของผู้ป่วยในการดูแลสุขภาพของช่องปากด้วย
การปลูกกระดูก เสริมกระดูกฟัน

การปลูกกระดูกคือการใช้กระดูกเทียมหรืออาจเป็นกระดูกของตัวผู้ป่วยเอง ปลูกถ่ายเข้าไปในกระดูกขากรรไกรหรือปลูกถ่ายกระดูกพร้อมกับการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม
ประเภทของกระดูกทดแทน (Bone graft)
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สามารถหากระดูกมาทดแทนได้อย่างหลากหลาย โดยหลัก ๆ กระดูกทดแทนจะมีทั้งหมด 4 ชนิด คือ
Allografts : กระดูกจากสิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกันเป็นกระดูกจากผู้บริจาคซึ่งผ่านกรรมวิธีการฆ่าเชื้อ และสเตอร์ไรด์แล้ว เป็นเซลล์กระดูกที่ไม่มีชีวิต ดังนั้นการปลูกถ่ายกระดูกชนิดนี้จะเกิดความเสี่ยงกรณีร่างกายต่อต้าน ทำให้กระดูกไม่ติดเกิดขึ้นได้น้อยมาก และไม่จำเป็นต้องได้รับการการผ่าตัดหรือได้การแก้ไขเพิ่มเติ่มอื่นๆอีก
- Autograft : กระดูกจากคนไข้คือการผ่าตัดเก็บกระดูกจากบริเวณอื่นของคนไข้ มาปลูกในส่วนที่จะฝังรากฟันเทียม ข้อดีคือ เป็นกระดูกของคนไข้เอง มีเซลล์ของตัวเอง ร่างกายจะไม่ต่อต้าน แต่ข้อเสียคือคนไข้อาจจะมีแผลหลายตำแหน่ง ซึ่งตำแหน่งที่นิยมเก็บมา ก็คือกระดูกขากรรไกรบริเวณฟันคุด และคาง การเก็บกระดูกในลักษณะนี้ สามารถเก็บมาได้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น เป็นชิ้น (block bone graft) หรือเป็นผง (particulated) เป็นต้น
- XenoGraft : กระดูกจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นเป็นกระดูกจากสัตว์ผ่านกรรมวิธีปลอดเชื้อ ซึ่งมีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก จึงทำให้ราคาของกระดูกชนิดสูง แต่ข้อดีของกระดูกชนิดนี้คือละลายหายไปช้า ทำให้เป็นตัวเลือกแรก ๆ ของทันตแพทย์ที่จะทำการปลูกกระดูก
- Alloplast : กระดูกสังเคราะห์ที่ทำจากแคลเซียม ฟอสเฟต หรือเซรามิก กระดูกที่จะนำมาปลูกถ่ายนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ผู้ให้การรักษา ในการเลือกประเภทของวัสดุที่จะนำมาใช้งานให้เหมาะสมกับลักษณะทางกายวิภาคของผู้ป่วยแต่ละท่าน