อาจจะเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความเข้าใจกันค่อนข้างมากว่าการใส่รีเทนเนอร์ (Retainer) ต้องใส่ตลอดดีวิตจริงหรือไม่ แต่มันเป็นเรื่องความต้องการของแต่ละคน เป็นเรื่องระเบียบวินัย หลังถอดเครื่องมือจัดฟัน ฟันสามารถเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิมเล็กน้อย เพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสมตามธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ผิดปกติ
ตามธรรมชาติแล้ว ฟันสามารถเคลื่อนที่ได้ตลอดชีวิต ไม่ว่าเราจะจัดฟันหรือไม่ก็ตาม แต่สำหรับผู้ที่เคยจัดฟัน คุณอาจเห็นปรากฏการณ์นี้ได้ชัดเจน กว่าผู้ที่ไม่เคยจัดฟัน ดังนั้น แม้ว่าจะผ่านช่วงวิกฤติ 1-2 ปีแรก ที่ต้องให้ใส่รีเทนเนอร์เกือบตลอดเวลาไปแล้ว การใส่รีเทนเนอร์อย่างสม่ำเสมอไปเรื่อยๆ ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ก็ยังจำเป็นสำหรับผู้ที่เคยจัดฟัน
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ รีเทนเนอร์ (คลิกอ่านตามหัวข้อ)
ทำไมถึงต้องใส่รีเทนเนอร์หลังจัดฟัน
หลังจากจัดฟันแล้ว จำเป็นต้องใส่รีเทนเนอร์ครอบฟันบนและฟันล่าง เพื่อป้องกันฟันเคลื่อนไปจากตำแหน่งที่จัดฟันไว้ไม่ให้ฟันเคลื่อนผิดรูป ในระยะแรกต้องสวมตลอดทั้งวัน จะถอดเฉพาะตอนรับประทานอาหารและ ตอนแปรงฟันเท่านั้น ระยะเวลาในการใส่รีเทนเนอร์ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ เป็นหลัก
รีเทนเนอร์มีกี่ประเภท
รีเทนเนอร์มี 3 ประเภทได้แก่ รีเทนเนอร์แบบลวด รีเทนเนอร์แบบใส และรีเทนเนอร์แบบติดแน่น
รีเทนเนอร์แบบลวด
Retainer แบบลวด เป็นรีเทนเนอร์แบบถอดได้ (Removable Hawley Wire Retainers) มีตัวฐานทำจากพลาสติกหรืออะคริลิกที่มีรูปร่างพอดีกับเพดานปากเเละตามเเนวฟันล่างด้านในของคนไข้ มีส่วนที่เป็นลวดโลหะบางๆ พาดผ่านด้านนอกของฟันคนไข้ เพื่อรักษาการเรียงตัวของฟัน
ใช้สำหรับครอบฟันเพื่อไม่ให้ฟันเคลื่อนตัวผิดตำแหน่ง และต้องใส่ติดฟันไว้ตลอดจะถอดต่อเมื่อเวลาที่รับประทานอาหาร โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้กำหนดช่วงระยะเวลาในการใส่ตามความเหมาะสม โดยอายุการใช้งานนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 5-10 ปี
ข้อดี
ใส่สบายกว่าแบบใส เพราะไม่มีปัญหาเรื่องน้ำลายขังในอุปกรณ์ แถมยังมีความทนทานเสียหายยาก
ข้อเสีย
ในขณะใส่จะทำให้คนอื่นมองเห็นลวดที่อยู่ในปาก อาจจะทำให้บางคนไม่มีความมั่นใจในขณะพูดคุย แถมลวดบางทีอาจจะสร้างความระคายเคืองต่อช่องปากและกระพุ้งแก้มได้
รีเทนเนอร์แบบใส
Retainer แบบใส คนส่วนใหญ่มักนิยมใช้รีเทนเนอร์ชนิดนี้ เพราะมีความเป็นธรรมชาติ ลักษณะเป็นแผงใช้ครอบฟัน ขนาดและรูปร่างทำมาพอดีกับฟันคนไข้ ซึ่งจะทำการผลิตขึ้นมาเฉพาะบุคคล โดยทำการหล่อขึ้นมาใหม่ทุกครั้งเพื่อให้พอดีกับฟันของคนไข้
ซึ่งระยะเวลาการใส่รีเทนเนอร์ถอดได้แบบใสนี้ โดยส่วนใหญ่จะใส่ติดปากตลอดเวลาในช่วง 6 เดือนแรก จะถอดเฉพาะเวลาที่รับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีความร้อน หลังจากที่พ้น 6 เดือนแรกไปแล้ว ก็สามารถใส่แค่เฉพาะเวลานอนได้ อายุการใช้งานประมาณ 2 ปี
ข้อดี
ส่วนใหญ่คนนิยมใช้ เพราะมีความเป็นธรรมชาติ ใส่สบายและมองไม่เห็นว่าใส่อยู่
ข้อเสีย
วัสดุที่ใช้ไม่ทนทานเท่าแบบลวด อาจฉีกขาดเสียหายได้ง่าย เวลาพูดมักมีน้ำลายไปขังอยู่ข้างในรีเทนเนอร์ ทำให้รู้สึกรำคาญได้
รีเทนเนอร์แบบติดแน่น
รีเทนเนอร์แบบติดแน่น (Fixed Retainers) ลักษณะเป็นลดเส้นเดียว ยึดติดกับฟันด้านใน มองไม่เห็นจากภายนอก การเลือกใช้รีเทนเนอร์ชนิดนี้ เฉพาะกับบางกรณีเท่านั้น
โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยไม่สามารถเลือกใช้รีเทนเนอร์ชนิดนี้เองได้ การใช้รีเทนเนอร์แบบติดแน่น เราอาจแก้ปัญหาหนึ่งได้ แต่ก็จะไปเจอกับอีกปัญหาหนึ่ง
ข้อดี
ป้องกันการเคลื่อนที่ของฟันได้ดีมาก ไม่สามารถถอดออกเองได้ คนไข้ไม่สามารถถอดเข้าถอดออกลดปัญหาการลืมหรือทำรีเทนเนอร์หาย
ข้อเสีย
การที่เป็นรีเทนเนอร์แบบติดแน่น ถอดออกไม่ได้กลับกลายเป็นข้อเสียที่สำคัญคือ การรักษาสุขภาพทางช่องปาก การรักษาความสะอาดอาจจะเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น ต้องดูแลมากขึ้นกว่าการใช้รีเทนเนอร์แบบลวด หรือแบบใส
สรุปแล้วเราต้องใส่รีเทนเนอร์นานแค่ไหน
ดังนั้นหลังถอดเครื่องมือจัดฟัน ทั้งแบบเหล็กติดแน่นและแบบใส ผู้ป่วยจำเป็นต้องใส่รีเทนเนอร์ตลอดเวลา นานประมาณ 1-2 ปี ถอดได้เฉพาะเวลากินอาหารและแปรงฟัน เมื่อผ่าน 1-2 ปีแรกไปแล้ว สามารถลดความถี่ในการใส่ได้ อาจใส่เฉพาะตอนนอน 3-5 คืนต่อสัปดาห์
“อยากมีฟันสวยนานแค่ไหน ก็ต้องใส่รีเทนเนอร์สม่ำเสมอนานเท่านั้น”
สำหรับคนที่สนใจจัดฟันแนะนำให้ท่านเข้ามาตรวจและปรึกษากับทันตแพทย์เฉพาะทางโดยตรง เพื่อประเมินจากช่องปากจริง และอธิบายราคาค่ารักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ที่โรงพยาบาลฟัน BIDH ของเรา มีทีมทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน ที่มีประสบการณ์ยาวนานมากกว่า 10 ปี พร้อมให้คำปรึกษาฟรี
- อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ “รีเทนเนอร์ (Retainers)” เพิ่มเติมได้ที่ : BangkokBraces.com และ BangkokDental.com
ติดต่อเรา โรงพยาบาลฟัน สุขุมวิท
โรงพยาบาลทันตกรรมกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล (BIDH)
98 ซอยสุขุมวิท 2 แขวงคลองเตย, เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
Tel : 02-115-8977, 095-517-1587
Email : contact@dentalhospitalthailand.com
LINE ID : @DentalHospital
Google Maps : โรงพยาบาลฟัน กรุงเทพ BIDH