โรคกลัวหมอฟัน (Dentophobia) คือ เมื่อความวิตกกังวลหรือความกลัวมีความรุนแรงมากขึ้น จะทำให้เค้าจินตนาการหรือคิดไปเองได้ว่า การเข้ามาพบทันตแพทย์นั้นเป็นสิ่งที่น่ากลัว และทำให้จิตตกได้ ที่โรงพยาบาลฟัน สุขุมวิท ซอย2 เรามีทางเลือกสำหรับบุคคลที่กลัวการทำฟันหรือกลัวหมอฟันดังต่อไปนี้
สิ่งที่ควรรู้เรื่อง Dentophobia-โรคกลัวหมอฟัน (คลิกอ่านตามหัวข้อ)
- โรคกลัวหมอฟัน (Dentophobia) คืออะไร
- ความวิตกกังวลและความกลัวในการทำฟัน
- สาเหตุของความกลัวการทำฟัน
- ทางเลือกสำหรับโรคกลัวหมอฟัน
- กระบวนการ General Anesthesia
- การเลือกใช้ยาระงับประสาท
- ทำไมถึงต้องเลือกทำฟัน ที่โรงพยาบาลทันตกรรม สุขุมวิท BIDH
- สรุป
ความวิตกกังวลทางทันตกรรมและความกลัวในการทำฟัน


Dental Anxiety and Dental Fear : ความวิตกกังวลทางทันตกรรม หมายถึง ความรู้สึกกังวลหรือกลัว ภายในสถานที่ทำฟัน ไม่ว่าจะโรงพยาบาลทันตกรรมหรือคลินิค ความวิตกกังวลทางทันตกรรมคือความไม่ชอบที่อาจนำไปสู่การหลีกเลี่ยงในการรักษา ความรู้สึกหวาดกลัว เกิดขึ้นเมื่อคุณจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับมัน
และรู้สึกว่าไม่อยากให้มันเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของคุณ จึงทำการหลีกเลี่ยงความรู้สึกนั้น ในทางตรงกันข้าม โรคกลัวหมอฟัน หรือความวิตกกังวลในการทำทันตกรรม เมื่อคุณไม่อยากเผชิญหน้ากับการทำฟันจึงทำให้ความรู้สึกวิตกกังวลและความกลัวมีมากเพิ่มยิ่งขึ้น
โรคกลัวหมอฟัน : Dentophobia คืออะไร?

Dental Phobia คือ ความวิตกกังวลในการทำฟัน ที่ก่อให้เกิดความทุกข์อย่างมากจนถึงขนาดที่คุณรู้สึกว่า โรคกลัวหมอฟันจะเป็นอันตรายต่อคุณ
บุคคลที่เป็นโรค Dentophobia หรือ โรคกลัวหมอฟัน จะหลีกเลี่ยงการทำทันตกรรมโดยสิ้นเชิงและไม่ให้มันเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เมื่อความวิตกกังวลหรือความกลัวมีความรุนแรงมากขึ้น จะทำให้เค้าจินตนาการหรือคิดไปเองได้ว่า การเข้ามาพบทันตแพทย์นั้นเป็นสิ่งที่น่ากลัว และทำให้จิตตกได้
สาเหตุของความกลัวการทำฟัน
สาเหตุและการรักษาความวิตกกังวลทางทันตกรรมหรือโรคกลัวหมอฟัน บุคคลที่มีความหวาดกลัวในการรักษาทางทันตกรรมจะมีความอดทนต่อสิ่งกระตุ้นและความเจ็บปวดลดลง ซึ่งทำให้ลดความอดทนในการรับการรักษากับทันตแพทย์ของคุณ สาเหตุของความกลัวการรักษาทางทันตกรรมมีดังนี้
1. ประสบการณ์ทำฟันที่ไม่ดีในอดีต
ความกลัวหมอฟันมักเกิดจากประสบการณ์ที่ไม่ดีในอดีต สิ่งนี้อาจเกิดขึ้นตั้งแต่เราอายุยังน้อย บางคนอาจจะกลัวเสียงของเครื่องมือที่ทันตแพทย์ใช้ หรือกลัวทันตแพทย์ และอาจนำไปสู่ความไม่ชอบการทำฟันและการกลัวหมอฟันในอนาคตได้
2. ความเจ็บปวดในการทำทันตกรรม
ความอดทนในการทำฟันหรือการรักษาฟันของแต่ละคนมีไม่เท่ากัน บางคนอาจจะมีความอดทนได้น้อยกว่า หรือบางคนอาจจะอดทนต่อความเจ็บปวดในการทำฟันได้มากกว่า
3. ความวิตกกังวลในการรักษา
หลายคนเกิดโรคกลัวหมอฟัน เมื่อรู้สึกว่าสูญเสียการควบคุม อึดอัด ทำให้เกิดความวิตกกังวล เมื่อได้รับการรักษาทางทันตกรรมบางคนรู้สึกว่าพวกเขาไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ หรือจินตนการถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นว่าทำให้เกิดความเครียด จิตตก และความกลัวในที่สุด
4. ความรู้สึกประหม่าและลำบากใจ
บางคนรู้สึกอายที่มีคนแปลกหน้ามองมาที่ปากของพวกเขา ปัญหาในช่องปากอาจทำให้ละเลยในบางครั้งทำให้พวกเขารู้สึกประหม่ามากขึ้นหรือกลัวที่จะรับข้อมูลเชิงลบ ทำให้ทันตแพทย์จำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิดและเพิ่มระดับการรักษามากกว่าเดิม สิ่งนี้อาจทำให้บางคนรู้สึกอึดอัดและลำบากใจ
ศูนย์ทันตกรรมภายใต้การดมยาสลบ : โรงพยาบาลฟัน BIDH
โดยการทำ Sleeping Dentistry มีหลายระดับดังนี้
- Oral sedation : เหมาะสำหรับ คนที่มีความกลัวไม่มากและการรักษาทางทันตกรรมไม่ซับซ้อนเช่น ขูดหินปูน, ถอนฟัน, อุดฟัน
- IV sedation : เหมาะสำหรับ คนที่มีความกลัวมาก และการรักษาทางทันตกรรมไม่ซับซ้อนเช่น ผ่าฟันคุด, ฝังรากเทียม ฯลฯ
- General Anesthesia : เหมาะสำหรับ คนที่มีความกลัวสุดขีด และและการรักษาทางทันตกรรมมีความซับซ้อนเช่น ผ่าตัด
กระบวนการ General Anesthesia
ขั้นตอนกระบวนการ General Anesthesia Journey (GA) ที่โรงพยาบาลฟัน BIDH
- ลงทะเบียนผู้ป่วยและทำ Triage โดยพยาบาล
- เช็คอินที่ In-patient Department (IPD)
- พยาบาลเตรียมผู้ป่วย
- วิสัญญีแพทย์เตรียมผู้ป่วย
- ทันตแพทย์เตรียมผู้ป่วย
- ย้ายไปห้องผ่าตัด Operating Theatre (OR)
- หลังการผ่าตัด ย้ายไป ห้อง Post Anesthesia Care Unit (PACU)
- รับยาให้ผู้ป่วยกลับบ้าน
ทางเลือกสำหรับโรคกลัวหมอฟัน
การเลือกใช้ยาระงับประสาท (Sedation Options)
การทำหัตถการโดยลดความเจ็บปวดที่ใช้ยาระงับประสาท มีหลายตัวเลือก ความแตกต่างของตัวเลือกสำหรับการจัดการความเจ็บปวดหรือการใช้ยาระงับประสาท นั้นมีหลากหลายประเภท การทำทันตกรรมโดยใช้ยาระงับประสาทบางอย่างจะมีการใช้ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ซึ่งเป็น “ก๊าซหัวเราะ” ที่ไม่มีสีและไม่มีกลิ่นซึ่งใช้เป็นยากล่อมประสาทอ่อนๆ
ปัจจุบันโรงพยาบาลทันตกรรม BIDH ใช้ การทำหัตถการที่ลดความเจ็บปวดคือประเภท IV sedation (การให้ยาระงับประสาททางหลอดเลือดดำ) แทนไนตรัสออกไซด์เนื่องจากผลและปริมาณของยากล่อมประสาทสามารถควบคุมได้ อีกทั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และยังมีการใช้ยาระงับประสาทประเภทอื่นๆ ดังนี้ :
- การใช้ยาระงับประสาทโดยการกินยา
- การใช้ยาระงับประสาทโดยการฉีดยาผ่านทางหลอดเลือดดำ
- การใช้ไนตรัสออกไซด์หรือก๊าซหัวเราะ
- การทำหัตถการภายใต้การดมยาสลับหรือ การทำฟันภายใต้การดมยาสลบ
ในการรักษาทางทันตกรรมด้วยยาระงับประสาททั้งหมดรวมถึงไซตรัสออกไซด์ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงถึงชีวิต หากไม่ได้รับการควบคุมและตรวจสอบจากบุคคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางด้านนั้นๆ
“สำหรับโรงพยาบาลฟัน BIDH ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาทางทันตกรรม เรามั่นใจว่าผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการรักษาด้วยมาตรฐานความปลอดภัยที่เข้มงวด และมาตราฐานในระดับสากล”

IV Sedation


ทำไมถึงต้องเลือกทำฟัน ที่โรงพยาบาลทันตกรรม สุขุมวิท BIDH

ที่โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH มีคลินิกเฉพาะทางด้านศัลยกรรมช่องปาก ซึ่งเป็นหนึ่งในคลินิกทันตกรรมในโรงพยาบาลเพียงไม่กี่แห่งในประไทย ที่สามารถให้การรักษาโดยใช้ยาระงับความความรู้สึก คลายความกังวล และลดเจ็บปวดร่วมด้วย ในระหว่างและหลังทำการรักษา
ทีมทันตแพทย์ พยาบาล และวิสัญญีแพทย์มีใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งคุณมั่นใจได้ว่าการรักษาของคุณ จะอยู่ในการดูแลของทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรบและมีความเชี่ยวชาญของเฉพาะทางในแต่ละสาขา

Operating Theatre (OR)

Post Anesthesia Care Unit

In-Patient Rooms
เรามีทีมเฉพาะทางชั้นนำในสาขาวิชาต่างๆ
จุดเด่นในการทำ Sleeping Dentistry ของโรงพยาบาลฟัน BIDH คือเรามีวิสัญญีแพทย์และพยาบาลเฉพาะทางดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาจนเสร็จสิ้นการรักษา

พันโท นพ.กฤษณะ นองเนือง MD.
- Mahidol University (Phramongkutklao College of Medicine) M.D. (First Class Honors and Gold Medal Award)
- Certificate of Anesthesiology, The Royal College of Anesthesiologist of Thailand
- Certificate of Cardiovascular and Thoracic anesthesia, The Royal College of Anesthesiologist of Thailand
- Certificate of Cardiac anesthesia, Bundeswehrkrankenhaus Koblenz, Germany

พญ. วรรณวิภา มาลัยทอง MD.
- Doctor of Medicine, Phramongkutklao College of Medicine, Mahidol University
- Fellowship on Pain Management, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University
- Thai Board of Anesthesiology
- Thai Sub-specialty Board of Pain Management
สรุป
Dentophobia หรือ โรคกลัวหมอฟัน จะหลีกเลี่ยงการทำทันตกรรมโดยสิ้นเชิงและไม่ให้มันเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เมื่อความวิตกกังวลหรือความกลัวมีความรุนแรงมากขึ้น จะทำให้เค้าจินตนาการหรือคิดไปเองได้ว่า การเข้ามาพบทันตแพทย์นั้นเป็นสิ่งที่น่ากลัว และทำให้จิตตกได้
“สำหรับโรงพยาบาลฟัน BIDH ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาทางทันตกรรม เรามั่นใจว่าผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการรักษาด้วยมาตรฐานความปลอดภัยที่เข้มงวด และมาตราฐานในระดับสากล”
ที่โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH เรามีทีมทันตแพทย์ พยาบาล และวิสัญญีแพทย์มีใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งคุณมั่นใจได้ว่าการรักษาของคุณ จะอยู่ในการดูแลของทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรบและมีความเชี่ยวชาญของเฉพาะทางในแต่ละสาขา พร้อมให้คำปรึกษาฟรี
- อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ “โรคกลัวหมอฟัน (Dentophobia)” เพิ่มเติมได้ที่ : BangkokDental.com
ติดต่อเรา โรงพยาบาลฟัน สุขุมวิท
โรงพยาบาลทันตกรรมกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล (BIDH)
98 ซอยสุขุมวิท 2 แขวงคลองเตย, เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
Tel : 02-115-8977, 095-517-1587
Email : contact@dentalhospitalthailand.com
LINE ID : @DentalHospital
Google Maps : โรงพยาบาลฟัน กรุงเทพ BIDH