สำหรับใครที่กำลังประสบกับปัญหากลัวการทำฟัน หรือมีความวิตกกังวลทุกครั้งที่ต้องไปพบทันตแพทย์ การเลือกทำทันตกรรมภายใต้การดมยาสลบ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อความสบายใจของคนที่กลัวการทำฟัน เพราะสามารถช่วยคลายความกังวล หรือ ลดความกลัวระหว่างทำฟันลงไปได้ ในการรักษาสำหรับทันตกรรมที่มีความเสี่ยงให้เกิดการอาการเจ็บปวด เช่น ทันตกรรมทั่วไป ถอนฟัน อุดฟัน และทันตกรรมที่มีความซับซ้อนอย่าง ผ่าฟันคุด รากฟันเทียม เป็นต้น
แต่การรักษาทันตกรรมภายใต้การดมยาสลบก็มีข้อปฏิบัติควรรู้ที่หลายคนอาจยังไม่ทราบ เราเลยรวบรวมสาระน่ารู้ เมื่อต้องดมยาสลบระหว่างทำฟันมาแชร์ความรู้ให้กับผู้ที่กำลังสนใจการรักษาภายใต้การดมยาสลบกันค่ะ
การรักษาภายใต้การดมยาสลบ ระหว่างทำฟัน (คลิกอ่านตามหัวข้อ)
การรักษาภายใต้การดมยาสลบ คืออะไร
การรักษาภายใต้การดมยาสลบ (General Anesthesia) คือ การให้การรักษาทางทันตกรรมที่ทำร่วมกับการใช้ยาสลบ เพื่อช่วยให้คนไข้รู้สึกเกิดความผ่อนคลายระหว่างทำการรักษา ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีความกังวล หรือ กลัวการทำฟัน ซึ่งถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดความรู้สึกตัว ลดความรู้สึกเจ็บปวด และลดความวิตกกังวลของผู้ที่กลัวทำฟันได้

โดยคนไข้สามารถเลือกระดับของการรู้สึกตัวได้ เพื่อให้เหมาะกับระดับความวิตกกังวลของตนเองโดยการให้บริการจะปรับปริมาณยาและประเภทของยาที่ใช้ตามระดับความรู้สึกตัวที่คนไข้เลือก และทุกขั้นตอนของการได้รับยาจะอยู่ภายใต้การดูแลของวิสัญญีแพทย์เท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของคนไข้ระหว่างทำการรักษา
ระดับของยาคลายกังวลที่ใช้ทางทันตกรรมรักษา มีอะไรบ้าง?
สามารถแบ่งระดับได้ 4 ประเภท คือ
1. คลายความกังวลระดับต้น ( ผ่อนคลาย )

เหมาะสำหรับทันตกรรมทั่วไป สามารถลดความกังวลลงได้เล็กน้อย โดยทันตแพทย์จะให้ทานยาเพื่อคลายความกังวล ก่อนเริ่มทำหัตถการประมาณ 30 นาที คนไข้จะยังรู้สึกตัว แต่ใจเย็นลง สามารถพูดคุยสื่อสารได้อย่างปกติ
และอีกทางเลือกหนึ่งคือการใช้ Nitrous Oxide หรือ ก๊าซหัวเราะโดยทันตแพทย์จะให้ดมก๊าซหัวเราะผ่านทางจมูกขณะทำหัตถการ คนไข้จะยังรู้สึกตัวอยู่แต่จะมีความเครียดลดลง และรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
2. คลายความกังวลระดับกลาง ( กึ่งรู้สึกตัว )

เหมาะสำหรับรักษารากฟัน หรือ ครอบฟัน การให้ยาเพื่อลดระดับความรู้สึกตัวของคนไข้ลง เป็นการให้ยาทางหลอดเลือดดำ (IV sedation) โดยจะปรับปริมาณยาให้เข้ากับแต่ละบุคคล เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย การให้ปริมาณยาในระดับต่ำๆ จนทำให้เกิดความง่วง สะลึมสะลือ ช่วยลดความกลัว หากเพิ่มปริมาณยาที่มากขึ้นจะช่วยให้ผ่อนคลายหรือง่วงนอนมากขึ้น โดยจะยังไม่หลับแต่อาจจะจำความรู้สึก หรือเหตุการณ์ขณะทำการรักษาไม่ได้
3. คลายความกังวลระดับลึก ( ไม่รู้สึกตัว )

เหมาะสำหรับศัลยกรรมช่องปาก ผ่าฟันคุด และ การถอนฟันจำนวนหลายซี่ เป็นการให้ยานอนหลับทางหลอดเลือดดำ (IV sedation) ขณะทำฟัน วิสัญญีแพทย์จะควบคุมปริมาณยาที่เหมาะสมตามน้ำหนัก และปฏิกิริยาของแต่ละบุคคล สำหรับการให้ยาคลายความกังวลระดับนี้ คนไข้จะไม่รู้สึกตัว และไม่สามารถจำเหตุการณ์ขณะทำรักษาได้
4. การดมยาสลบ ( หลับและไม่รู้สึกตัว)

เหมาะสำหรับทันตกรรมเต็มรูปแบบ หรือ การรักษาที่มีความซับซ้อน คือ การดมยาสลบในห้องผ่าตัดที่ได้รับมาตรฐาน (General Anesthesia : GA) เป็นวิธีที่ใช้เพื่อทำให้คนไข้หลับ ปราศจากความกังวล และความกลัว คนไข้จะไม่สามารถจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผ่าตัดได้ด้วยการให้ยาระงับความรู้สึก มีการสูดดมยาสลบเข้าทางระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย สำหรับการใช้วิธีคลายกังวลในระดับลึกนี้ จะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจใส่ให้ระหว่างการรักษาด้วยเพื่อช่วยรักษาระดับอัตราการหายใจ
อ่านเพิ่มเติม : ทันตกรรมภายใต้การดมยาสลบ (คลิก)
ก่อนการรักษาภายใต้การดมยาสลบ ต้องเตรียมตัวยังไง

งดน้ำและอาหารทุกชนิด หลังเที่ยงคืนของก่อนวันนัด (อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง) เพื่อป้องกันปัญหาการสำลักอาหารระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึก

ทำความสะอาดร่างกายให้สะอาด เช่น อาบน้ำ สระผม เพื่อลดการติดเชื้อ ก่อนวันนัดผ่าตัด

ถอดแว่นตา คอนแทคเลนส์ สิ่งของมีค่า เครื่องประดับทุกชนิด เช่น แหวน สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ต่างหู เพราะจะทำให้เป็นสื่อการนำไฟฟ้า ท้าให้อันตราย ขณะผ่าตัด รวมทั้งอาจสูญหายได้

ถอดฟันปลอม เนื่องจากการผ่าตัดต้องดมยาสลบ หรือต้องใส่อุปกรณ์ในช่องปาก ทำให้ฟันปลอมอาจจะหลุดเข้าไป ในหลอดลมเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจได้

งดทาเล็บ เนื่องจากขณะทำการผ่าตัดจะมีการวัดปริมาณออกซิเจนในร่างกายติดไว้ที่ปลายเล็บ เพื่อประเมินภาวะการขาดออกซิเจนในเลือดขณะผ่าตัด ซึ่งจะทำให้รบกวนสัญญาณการจับค่าปริมาณออกซิเจนในเลือดได้

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทำใจให้สบาย ไม่วิตกกังวล หรือเครียด
“ หากมีประวัติการเจ็บป่วยทั้งปัจจุบัน และอดีตที่เกี่ยวกับโรคประจำตัว การใช้ยา การแพ้ยา กรุณาแจ้งพยาบาล หรือทันตแพทย์ให้ทราบ และหากคุณมีอาการไอ เป็นหวัด หรือเป็นไข้หวัดก่อนทำหัตถการ หรือสงสัยอาจตั้งครรภ์ ในช่วงสัปดาห์ก่อนวันนัดทำหัตถการผ่าตัด กรุณาแจ้งทีมทันตแพทย์ /เจ้าหน้าที่ เพื่อพิจารณาว่าคุณสามารถเข้ารับการดมยาสลบต่อไปได้หรือไม่ ”
ขั้นตอนการดมยาสลบ ระหว่างทำฟัน
กรณีขั้นตอนนี้สำหรับคนไข้ที่ต้องรักษาทันตกรรมแบบเต็มรูปแบบ หรือทันตกรรมที่ซับซ้อนและมีการผ่าตัด
- วิสัญญีแพทย์จะทำการประเมินคนไข้โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่นผลตรวจเลือดทั่วไป ภาพฉายรังสีทรวงอก รวมทั้งคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น หากคนไข้มีข้อสงสัยใด ๆ สามารถสอบถามกับทางวิสัญญีแพทย์ได้ทันที
- คนไข้ต้องเปลี่ยนชุดใหม่ เป็นชุดของโรงพยาบาลที่ได้จัดเตรียมไว้ให้ในห้องทำทันตกรรมผ่าตัด
- หลังจากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่นำส่งคนไข้เข้าไปที่ห้องผ่าตัด โดยมีทีมวิสัญญีแพทย์ วิสัญญีพยาบาล ทันตแพทย์ ผู้ช่วยทันตแพทย์ และพยาบาล เพื่อเป็นไปตามมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย
- เมื่ออุปกรณ์ทางการแพทย์ และทีมห้องผ่าตัดพร้อม สำหรับเริ่มทำหัตถการ/การผ่าตัดแล้ว วิสัญญีแพทย์จะเริ่มทำการให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย หรือการดมยาสลบโดยมีขั้นตอนคือ
- ให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำกับคนไข้
- เริ่มให้คนไข้ดมยาสลบ โดยผ่านการสูดดมก๊าซเข้าไปด้วยการหายใจผ่านหน้ากากครอบ โดยใช้เครื่องดมยาสลบของทางโรงพยาบาล
ระหว่างการได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย หรือการดมยาสลบ คนไข้จะไม่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ รวมถึงความรู้สึกเจ็บปวดระหว่างทำการรักษา แต่จะมีเครื่องมือช่วยหายใจ ระบบสัญญาณชีพ วัดความดันโลหิต อย่างใกล้ชิดตลอดเวลาการรักษา
อ่านเพิ่มเติม : ศูนย์การรักษาทันตกรรมภายใต้การใช้ยาคลายความกังวล (คลิก)
การดูแลหลังจากได้รับการรักษา ภายใต้การดมยาสลบ
1. คนไข้จะได้รับการดูแลต่อในห้องพักฟื้น ( PACU) จนกว่าจะได้รับการประเมินว่าปลอดภัยดี โดยมีระยะเวลาสังเกตอาการต่อที่อยู่ในห้องพักฟื้นประมาณ 2 ชั่วโมง หรืออาจนานกว่านั้นในกรณีที่คนไข้ยังรู้สึกตัวไม่มาก หรือยังรู้สึกตัวไม่เต็มที่
2. ยาระงับความรู้สึก หรือยาสลบที่ได้รับอาจส่งผลกระทบต่อความจำ สมาธิ และปฏิกิริยาตอบสนองต่าง ๆ ของคนไข้เป็นเวลาชั่วคราว ภายใน 1-2 วัน ดังนั้น คนไข้ควรมีผู้คอยดูแลอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 24 ชั่วโมงหลังทำการรักษาเสร็จ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหรืออาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นได้
3. คนไข้ควรมีสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนพากลับบ้านและสามารถอยู่ดูแลต่ออีกประมาณ 3-4 ชั่วโมง
4. ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังได้ยาระงับความรู้สึก หรือยาดมสลบ คนไข้ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ควรตัดสินใจกระทำการเรื่องสำคัญหรือเซ็นเอกสารสำคัญใดๆ ทั้งสิ้น
5. คนไข้จะสามารถทำกิจวัตรตามปกติได้ในวันถัดไป
สแกน QR Code
หรือ ดาวน์โหลด คำแนะนำการดูแลผู้ป่วยหลัง การได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย (คลิก)
ข้อดีของการทำฟัน
ภายใต้การดมยาสลบ
- ทันตแพทย์จะทำการรักษาได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น เพราะไม่ต้องระวังหรือรีบทำการรักษา เนื่องจากภาวะไม่ยอมรับของคนไข้
- คนไข้รู้สึกสบายใจมากขึ้นในการทำฟัน เพราะไม่ต้องกลัวว่าจะรู้สึกเจ็บหรือรับรู้สิ่งต่างๆ ระหว่างทำการรักษา
- ไม่ต้องเสียเวลาพบทันตแพทย์หลายครั้ง เพราะการทำฟันภายใต้การดมยาสลบ จะใช้เวลาการรักษาเพียงครั้งเดียว ประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง ในการทำการรักษา
โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH ทางเลือกของคนกลัวการทำฟัน
ที่โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH ของเรามีวิสัญญีแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ให้การรักษาทันตกรรมภายใต้การให้ยาคลายความกังวลและยาสลบที่ได้รับมาตรฐานและปลอดภัย เราปฏิบัติตามแนวทางของสมาคมวิสัญญีแพทย์อเมริกา (American Society of Anaesthesiologist: ASA) เพื่อให้แน่ใจว่าผู้มารับบริการทุกท่านจะได้รับการรักษาอย่างปลอดภัยมากที่สุด
เรามีทีมเฉพาะทาง ชั้นนำในสาขาวิชาต่างๆ

พันโท นพ.กฤษณะ นองเนือง MD.
Mahidol University (Phramongkutklao College of Medicine) M.D. (First Class Honors and Gold Medal Award)

พญ. วรรณวิภา มาลัยทอง MD.
Doctor of Medicine, Phramongkutklao College of Medicine, Mahidol University
ข้อมูลเพิ่มเติม : ทันตแพทย์ที่โรงพยาบาลฟัน สุขุมวิท ซอย 2 (คลิก)
สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการรักษาทางทันตกรรมเฉพาะทางที่ BIDH
มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ที่กลัวทำฟัน หรือผู้ที่ต้องการใช้ยาคลายความกังวลหรือยาสลบ ดังนี้

ห้องผ่าตัดที่ได้มาตรฐาน

ห้องพักฟื้น (PACU)

พยาบาลวิชาชีพคอยดูแลหลังการรักษา
เทคนิคการทำ Sleeping Dentistry กับการรักษาทางทันตกรรม

A title
Image Box text

A title
Image Box text

A title
Image Box text
Oral sedation : เหมาะสำหรับ คนที่มีความกลัวไม่มากและการรักษาทางทันตกรรมไม่ซับซ้อน เช่น ขูดหินปูน, ถอนฟัน, อุดฟัน

A title
Image Box text

A title
Image Box text
IV sedation : เหมาะสำหรับ คนที่มีความกลัวมาก และการรักษาทางทันตกรรมไม่ซับซ้อน เช่น ผ่าฟันคุด, ฝังรากเทียม ฯลฯ

A title
Image Box text

A title
Image Box text
General Anesthesia : เหมาะสำหรับ คนที่มีความกลัวสุดขีด และการรักษาทางทันตกรรมมีความซับซ้อนเช่น ผ่าตัด
จุดเด่นในการทำ Sleeping Dentistry ของโรงพยาบาลทันตกรรม BIDH
เรามีวิสัญญีแพทย์ และพยาบาลเฉพาะทางดูแลอย่างใกล้ชิด ตลอดเวลาจนเสร็จสิ้นการรักษา
สรุป
การรักษาทันตกรรมภายใต้การดมยาสลบ ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่เป็นตัวช่วยที่ดีที่สุด ให้กับคนไข้ที่มีความกังวล และความกลัวในการทำฟัน ปัจจุบันมีการรักษาแบบนี้เพิ่มขึ้นอย่างแพร่หลาย แต่สิ่งที่คนไข้ควรคำนึงถึงคือความปลอดภัยระหว่างเข้ารับบริการ ควรเลือกใช้บริการกับคลินิกหรือโรงพยาบาลที่มีวิสัญญีแพทย์เฉพาะทางในการดูแลความปลอดภัยหากต้องรักษาภายใต้การดมยาสลบ
ติดต่อเรา โรงพยาบาลฟัน สุขุมวิท ซอย 2
โรงพยาบาลทันตกรรมกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล (BIDH)
98 ซอยสุขุมวิท 2 แขวงคลองเตย, เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
Tel : 02-115-8977, 095-517-1587
Email : contact@dentalhospitalthailand.com
LINE ID : @DentalHospital
Google Maps : โรงพยาบาลฟัน กรุงเทพ BIDH