เหงือกไม่สวย ยิ้มแล้วเห็นเหงือกเยอะเกินไปแก้ไขได้ !! ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโรคเหงือกที่เรียกว่า ตัดเหงือก (Gingivectomy) หรือ การศัลยกรรมตกแต่งเหงือก เป็นการผ่าตัดเหงือกหรือเปลี่ยนรูปร่างของเหงือก เพื่อยกระดับเหงือกและทำให้ฟันดูยาวขึ้น นอกจากนี้ยังทำเพื่อรักษาสภาวะบางอย่าง เช่น โรคเหงือกอักเสบ หรือปัญหาร่องเหงือกลึกที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือการเกลารากฟันได้อีกด้วย ซึ่งส่วนใหญ่การตัดเหงือกจะทำร่วมกันกับการครอบฟันหรือวีเนียร์ การรักษารากฟัน และการผ่าหรือถอนฟันคุด เพื่อให้เหงือกดูมีสัดส่วนที่เหมาะสมเวลายิ้มก็จะสวยมากยิ่งขึ้น
สารบัญความรู้เกี่ยวกับศัลยกรรมตกแต่งเหงือก (คลิกอ่านตามหัวข้อ)
- สาเหตุที่ต้องผ่าตัดเหงือก
- วิธีการตัดแต่งเหงือก
- การตัดเหงือกทั้ง 2 ประเภท (ที่คนส่วนใหญ่นิยมทำ)
- ก่อนตัดเหงือกต้องเตรียมตัวยังไง?
- ตัดเหงือกเจ็บไหม?
- ขั้นตอนการผ่าตัดเหงือก
- วิธีดูแลหลังตัดแต่งเหงือก
- หลังตัดเหงือก กินอะไรได้บ้าง และห้ามกินอะไรบ้าง
- หลังการผ่าตัดเหงือก หากเมื่อมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- ข้อดีของการตัดเหงือก
- ข้อเสียของการตัดเหงือก
- ตัดเหงือกที่ไหนดี – รีวิวตกแต่งเหงือก
- สรุป
สาเหตุที่ต้องผ่าตัดเหงือก
สาเหตุที่ต้องตัดแต่งเหงือกส่วนใหญ่จะใช้เพื่อทำการรักษาร่วมกับการทำทันตกรรมอื่น ๆ เช่น การตัดเหงือกภายหลังการจัดฟัน การรักษารากฟัน การทำครอบฟัน แก้ไขปัญหาเหงือกเยอะ เหงือกบวม การอุดฟัน ระดับขอบเหงือกของฟันแต่ละซี่ไม่เท่ากัน และเหงือกงอกมาคลุมตัวฟันมากเกินไป ส่งผลทำให้การรับประทานอาหารไม่สะดวก บางคนทำปากกระจับทำเมื่อริมฝีปากบางลงเวลายิ้มอาจเห็นเหงือกเยอะขึ้น ซึ่งถ้าทำการตัดเหงือกเพิ่มก็จะช่วยทำให้ฟันดูยาว เวลายิ้มก็จะไม่เห็นเหงือกมากจนเกินไป
ทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเหงือกและฟัน ทำการรักษาด้วยการตัดเหงือกในกรณีที่มีเหงือกบวมอักเสบ เพื่อให้การดูแลรักษาทำความสะอาดที่ง่ายขึ้น
วิธีการตัดแต่งเหงือก
วิธีการตัดแต่งเหงือกสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
ตัดเหงือกด้วยระบบไฟฟ้า หรือ ตัดเหงือกด้วยเลเซอร์
ส่วนวิธีที่ได้รับความนิยมคือ การตัดเหงือกด้วยเลเซอร์ เนื่องจากช่วยควบคุมการผ่าตัดได้อย่างแม่นยำ มีอาการเจ็บน้อยกว่า แผลน้อยกว่า เหงือกไม่ช้ำ อีกทั้งยังมีภาวะแทรกซ้อนที่น้อยกว่าการใช้ใบมีดผ่าตัด และไม่ต้องใช้เวลาในการพักฟื้นนาน แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่บ้าง
การตัดเหงือกทั้ง 2 ประเภท (ที่คนส่วนใหญ่นิยมทำ)
การตัดแต่งเหงือก ที่คนส่วนใหญ่นิยมทำจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การตัดเหงือกธรรมดา (Gingivectomy) จะเป็นวิธีที่ทันตแพทย์ใช้เครื่องมือตัดเหงือกส่วนเกินออก เพื่อปรับแนวเหงือกให้เรียบ เหมาะสำหรับคนที่ไม่ได้มีปัญหามากเพียงแต่มีเหงือกเยอะ และมีเหงือกงอกมาคลุมตัวฟันมากเกินไป เวลายิ้มจึงเห็นเหงือกมากกว่าคนทั่วไป ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจได้ แต่วิธีนี้อาจทำให้เหงือกที่ตัดกลับมาสู่ระดับขอบเหงือกเดิมก่อนที่ตัดได้ (relapse)
2. การตัดแต่งเหงือกกรอกระดูกฟัน (Aesthetic Crown Lengthening) คือ การตัดเหงือกร่วมกับการกรอแต่งขอบกระดูกใต้เหงือกออกบางส่วน จึงเหมาะสำหรับคนที่มีปัญหากระดูกฟันนูน และมีเหงือกหนาจนลงมาคลุมฟันมาก โดยทันตแพทย์จะทำการผ่าตัดขอบเหงือกร่วมกับการกรอลดความสูงของขอบกระดูกฐานเหงือก ซึ่งจะให้ผลลัพธ์การรักษาแบบถาวรเหงือกจะไม่งอกกลับขึ้นมาอีก ซึ่งวิธีนี้ช่วยเพิ่มความมั่นใจและคงสภาพหลังการรักษาได้ดี
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม : รักษาโรคเกี่ยวกับเหงือกและโรคเหงือก เกลารากฟัน ตกแต่งเหงือก ปลูกเหงือกและกระดูก (คลิก)
Q : ตัดเหงือกเจ็บไหม?
A : การศัลยกรรมตัดแต่งเหงือกไม่เจ็บ เพราะก่อนทำการรักษาทันตแพทย์จะฉีดยาชา รวมถึงเครื่องมือที่ใช้มีความทันสมัย (ทั้งแบบตัดด้วยใบมีดและตัดเหงือกเลเซอร์) และหลังทำการรักษา หากรู้สึกปวดสามารถทานยาแก้ปวดที่เพียงพอ และมีที่ติดแผล (dressing) บริเวณเหงือก ช่วยลดอาการเจ็บได้อย่างดีมาก

ก่อนตัดแต่งเหงือกต้องเตรียมตัวยังไง?
- ทำการตรวจสุขภาพภายในช่องปาก หากพบว่ามีปัญหา เช่น ฟันผุ หินปูน ให้ทำการเคลียร์ช่องปากให้เรียบร้อยเสียก่อน
- ทันตแพทย์จะทำการเอกซเรย์เพื่อประเมินระดับกระดูก
- ทำการปรึกษาแพทย์เรื่องแผนการรักษา เช่น ต้องตัดเหงือกกี่ซี่ หรือต้องทำการกรอกระดูกฟันด้วยหรือไม่
- หากมีโรคประจำตัว แพ้ยา ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนการลงมือผ่าตัด
ขั้นตอนการผ่าตัดเหงือก
- ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของแต่ละบุคคล แต่ส่วนใหญ่จะไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง
- ทันตแพทย์จะทำการใส่ยาชา จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเจ็บแต่จะรู้สึกได้ถึงแรงกดของเครื่องมือที่กระทำอยู่
- รอยาชาออกฤทธิ์ 5-10 นาที และกำหนดจุดที่เหงือกก่อนการผ่าตัด
- หากมีปัญหาเรื่องกระดูกฟันนูนก็จะต้องทำการกรอกระดูกฟันร่วมด้วย
- หลังการผ่าตัดจะมีไหมเย็บแผล และยาปิดแผลปิดอยู่บริเวณเหงือก
- ทันตแพทย์จะแนะนำวิธีดูแลตัวเองให้อย่างละเอียด และจะมีการนำยาปิดแผลออกและตัดไหมหลังจากวันผ่าตัด 1-2 อาทิตย์หลังจากนี้
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม : สำหรับคนที่กลัวการทำฟัน (คลิก)
วิธีดูแลหลังตัดแต่งเหงือก

- หากทันตแพทย์ทำการใช้ยาปิดแผลลักษณะคล้ายหมากฝรั่งให้งดแปรงฟันในบริเวณนี้ และจะให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อบ้วนทำความสะอาดแทน โดยใช้วันละ 2 ครั้ง นานครั้งละ 1 นาที
- หากเป็นแผลปกติให้ใช้ cotton bud ชุบน้ำ เช็ดทำความสะอาดบริเวณแผล
- เมื่อมีอาการปวดให้รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาได้
- ทันตแพทย์จะจ่ายยาฆ่าเชื้อให้ แนะนำให้รับประทานติดต่อกันจนกว่าจะหมด
- งดกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเหงือกและฟัน เคี้ยวของแข็ง กัดฟัน ต่อยมวย เป็นต้น
ตัดเหงือกแล้ว กินอะไรได้บ้าง
- เน้นรับประทานอาหารที่ไม่ออกแรงเคี้ยวเยอะ และไม่แข็งจนเกินไป เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก
- รับประทานอาหารที่เย็นได้ตามปกติ
- ดื่มน้ำให้ครบวันละ 8 แก้ว
- รับประทานผักหรือผลไม้ที่มีวิตามิน เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ กี่วี สับปะรด
- รับประทานอาหารจำพวกโปรตีนและเนื้อสัตว์ที่ไม่เหนียวแทนไปก่อน ไข่ขาว ไก่ ธัญพืช เนื่องจากโปรตีนจะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและทำให้แผลหายไวขึ้น
ตัดแต่งเหงือก ห้ามกินอะไรบ้าง
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดจ้านจนกว่าแผลจะหายดี
- งดเคี้ยวน้ำแข็ง ถั่วหรืออาหารแข็ง อาหารกรุบกรอบที่ส่งผลต่อฟัน
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่เคี้ยวยาก เช่น เนื้อติดมัน เนื้อติดเอ็น เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหมักดอง เช่น ปลาร้า ผลไม้ดอง เพราะอาหารเหล่านี้อาจมีสิ่งปนเปื้อนที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อได้
ข้อดีของการตัดเหงือก
- ช่วยแก้ปัญหาขาดความมั่นใจ หรือไม่กล้ายิ้ม
- ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับโรคเหงือก เช่น เหงือกร่น เหงือกติดเชื้อ เหงือกอักเสบ ปัญหาร่องเหงือกลึก และเหงือกบาดเจ็บ เป็นต้น
- ทำให้ทันตแพทย์และคนไข้สามารถรักษาและทำความสะอาดฟันได้ง่ายขึ้น
- ช่วยป้องกันฟันรากฟันผุ
- ช่วยทำให้คนไข้ที่มีฟันผุ หรือฟันแตก สามารถรักษารากฟัน ครอบฟัน หรือบูรณะฟันซี่นั้นได้สมบูรณ์จากการตัดเหงือกเพิ่ม
- ช่วยเพิ่มความยาวของซี่ฟัน
- ช่วยทำให้การทำวีเนียร์ให้ดูมีมิติ และสวยงามมากขึ้น
ข้อเสียของการตัดแต่งเหงือก
หลังจากเข้ารับการตัดแต่งเหงือก หากคนไข้ไม่ดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี อาจทำให้เกิดโรคช่องปากอื่นๆ ตามมาได้ เช่น คอฟันสึก เหงือกบวม เหงือกร่น ฟันผุ และอาการติดเชื้อ เป็นต้น
ตัดแต่งเหงือกที่ไหนดี ?
การศัลยกรรมตกแต่งเหงือกอย่างปลอดภัย ควรเลือกคลินิกทันตกรรม ศูนย์ทันตกรรม หรือโรงพยาบาลทันตกรรมที่ได้รับมาตรฐาน สะอาด ปลอดภัยและทำการรักษาโดยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเหงือกโดยเฉพาะ ทำให้สามารถมั่นใจในประสิทธิภาพของการรักษาและรอยยิ้มที่สวยงามของคุณได้
รีวิวตกแต่งเหงือก ที่โรงพยาบาลฟัน BIDH สุขุมวิทซอย 2
คุณ สไมล์ ภารฎา นักร้องและนักแสดงดาวรุ่งช่อง GMM เข้ามาทำการตกแต่งเหงือกเนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดฟันไม่ครบตามระยะเวลาในการรักษา
ทำให้ฟันถูกเทไปด้านใดด้านนึงและทำให้เห็นเนื้อเหงือกมาเกินไปเวลายิ้ม และเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการทำงานที่จะเป็นผู้มอบรอยยิ้มให้กับคนดูในฐานะนักแสดงอีกด้วย
สวย x2 ดูแลทั้งฟันและเหงือก สวยครบจบที่โรงพยาบาลฟัน BIDH

เปลี่ยนรอยยิ้มให้สวยงามเป็นธรรมชาติด้วย
ทันตกรรมความงาม
สรุป
ปัจจุบันการตัดแต่งเหงือกเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากขึ้น เพราะการสูญเสียความมั่นใจจากรอยยิ้มไม่ได้มีแค่ปัญหาฟันยื่นหรือฟันห่างเพียงอย่างเดียว แต่รอยยิ้มที่มีเสน่ห์มักมีความสัมพันธ์กับเหงือกด้วยเช่นกัน
การตัดเหงือกเป็นการรักษาที่นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาสุขภาพเหงือกแล้ว ยังช่วยแก้ไขปัญหาความสวยงาม และเสริมความมั่นใจให้กับผู้ที่เข้ารับการตัดเหงือกได้อีกด้วย แต่หลังจากเข้ารับการผ่าตัดเหงือกแล้วการดูแลสุขภาพภายในช่องปากเป็นสิ่งสำคัญ ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษารอยยิ้มและความมั่นใจให้อยู่กับเราไปได้นานๆ
ติดต่อเรา โรงพยาบาลฟัน สุขุมวิท ซอย 2
โรงพยาบาลทันตกรรมกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล (BIDH)
98 ซอยสุขุมวิท 2 แขวงคลองเตย, เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
Tel : 02-115-8977, 095-517-1587
Email : contact@dentalhospitalthailand.com
LINE ID : @DentalHospital
Google Maps : โรงพยาบาลฟัน กรุงเทพ BIDH