การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันสำหรับเด็ก ถือเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ต้องให้ความใส่ใจและหมั่นดูแลอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา “โรคฟันผุ” จนทำให้เด็กฟันผุเกิดอาการเจ็บปวด และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่ควรหาวิธีป้องกันเพื่อดูแลสุขภาพฟันลูกน้อยโดยการพาไปตรวจสุขภาพฟันกับทันตแพทย์เฉพาะทางทันตกรรมสำหรับเด็ก
สารบัญเกี่ยวกับปัญหาฟันผุในเด็ก (คลิกอ่านตามหัวข้อ)
โรคฟันผุเกิดขึ้นได้อย่างไร?
โรคฟันผุ (dental caries) เกิดจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในช่องปากรวมตัวกับเศษอาหารและน้ำลายสะสมจนกลายเป็นคราบเหนียว และเกาะอยู่ตามผิวฟัน แบคทีเรียที่เกิดขึ้นมาจากการเปลี่ยนสภาพของน้ำตาลและแป้งให้กลายเป็นกรดที่มีฤทธิ์ทำลายแร่ธาตุบนผิวฟัน จนก่อให้เกิดรูขนาดเล็กๆ บนฟันหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี รูที่เกิดขึ้นจะค่อยๆ ใหญ่ขึ้นและกลายเป็นโรคฟันผุ
โดยปัญหาฟันผุในเด็ก สามารถเกิดได้ตั้งแต่เด็กมีฟันชุดแรกขึ้นในช่องปากที่เรียกว่า “ฟันน้ำนม” ซึ่งจะขึ้นอายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป และเนื่องจากชั้นเคลือบฟันน้ำนมหนาประมาณครึ่งหนึ่งของฟันแท้ทำให้มีความบอบบางก่อให้เกิดฟันผุได้ง่ายมากกว่าฟันแท้ และยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เป็นองค์ประกอบน้อยกว่าอีกด้วย ซึ่งฟันน้ำนมซี่หน้าบนจะผุได้ง่ายกว่าฟันหน้าล่าง รวมทั้งอีกจุดที่ผุง่ายก็คือ ฟันกรามด้านบดเคี้ยว เพราะเป็นซี่ใน ขนมหวานมักติดค้างอยู่ในร่องฟัน จึงทำความสะอาดฟันได้ยาก
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม : ฟันน้ำนมผุได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่ ? (คลิก)
วิธีการสังเกตอาการเด็กฟันผุ

A title
Image Box text
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม : ลักษณะอาการแบบไหน ควรพาลูกไปหาหมอฟัน (คลิก)
วิธีการสังเกตอาการฝันผุโดยทั่วไปมีดังต่อไปนี้ :
- มีจุดสีน้ำตาล หรือรูสีดำบริเวณผิวฟัน
- มีอาการปวด เสียวฟันขณะเคี้ยวอาหารที่มีรสหวานหรืออาหารที่มีความเย็น
- ฟันเปลี่ยนเป็นสี โดยเกิดจากคราบของแบคทีเรีย
- ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
3 ระยะของฟันผุ มีอะไรบ้าง

ฟันผุในระยะแรก

ฟันผุที่ชั้นเคลือบฟัน และเนื้อฟัน

ฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน
- ฟันผุในระยะแรก จะพบลักษณะรอยโรคขุ่นขาวบริเวณเคลือบฟันหรือหลุมร่องฟัน ซึ่งจะยังไม่แสดงอาการ
- ฟันผุที่ชั้นเคลือบฟันและเนื้อฟัน จะมีการแตกหักของเนื้อฟันจนเกิดรอยผุเป็นรูบนตัวฟัน เด็กฟันผุจะเริ่มมีอาการเสียวฟัน ปวดฟัน เวลาเศษอาหารติด
- ฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน จะมีอาการปวดฟัน ประสาทฟันอักเสบร่วมกับการอักเสบของเหงือกและอวัยวะรอบๆ ฟัน
Q : เด็กฟันผุ ทำไงดี?
A : เมื่อพบว่าลูกน้อยของคุณมีอาการฟันผุเกิดขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาเด็กๆไป พบทันตแพทย์เฉพาะทางเด็ก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปวดฟัน หรือลุกลามจนถึงขั้นเป็นฟันสีดำและเป็นโพรงจนถึงรากฟัน ในกรณีนั้นจะไม่สามารถรักษาได้ เมื่อตรวจพบภายในช่องปากของลูกน้อยว่ามีเป็นจุดสีดำที่ฟัน ควรที่จะพาไปพบทันตแพทย์ทันที เพราะฟันน้ำนมถึงแม้จะเป็นฟันชุดแรกแต่ถ้ามาทำการรักษาได้เร็วก็สามารถที่จะรักษาให้หายจากโรคฟันผุได้
การรักษาฟันผุในเด็กมีอะไรบ้าง ??

การรักษาฟันผุในเด็กมีหลายวิธีสำหรับการรักษา แต่ขั้นตอนการรักษาจะแตกต่างกันออกไป ตามความรุนแรงของอาการฝันผุ ซึ่งขั้นตอนการรักษาต่างๆ มีดังนี้ :

A title
Image Box text
การอุดฟัน
สำหรับการอุดฟัน ถ้าซี่ฟันที่ผุมีโพรงขนาดเล็กที่ไม่ลึกมาก ทันตแพทย์เด็กจะทำการรักษาด้วยการอุดฟันแบบง่ายๆ โดยนำส่วนที่เสียหายของฟันและอุดช่องว่างด้วยวัสดุ Composite Resin หากสามารถตรวจพบฟันผุในปากได้ตั้งแต่แรกๆ การรักษาด้วยวิธีนี้จะไม่เจ็บปวด มีการรักษาที่ง่ายและรวดเร็ว

A title
Image Box text
ครอบฟันเด็ก
ถ้าซี่ฟันที่ผุมีอาการรุนแรงทำให้เนื้อฟันส่วนใหญ่ถูกทำลายหายไป ทันตแพทย์เด็กจะแนะนำให้ทำการรักษาโดยการครอบฟันแทน ซึ่งการครอบฟันในเด็กจะใช้เป็นครอบฟันแบบสำเร็จรูปที่ครอบลงไปทีละซี่ วัสดุที่ใช้จะมีทั้งหมด 2 แบบ คือ
- ครอบฟันเด็กที่ทำจากโลหะไร้สนิม (Stainless Steel Crown)
- ครอบฟันเด็กสีเหมือนฟัน (ครอบฟันน้ำนมสีขาว) ที่ทำจากวัสดุเซอร์โคเนียเซรามิก (Zirconia Ceramic Crown)

A title
Image Box text
รักษารากฟันเด็ก
ถ้าแบคทีเรียในโพรงฟันผุเข้าไปในเส้นประสาทฟันของเด็ก ทำให้เกิดอาการเสียวฟัน ปวดฟันรุนแรง หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ทันตแพทย์แนะนำว่าควรทำการรักษารากฟัน โดยการทำความสะอาดเพื่อกำจัดแบคทีเรียและการติดเชื้อในรากฟัน
ระหว่างการรักษาจะมีขั้นตอนค่อนข้างละเอียดทำให้ต้องมีการใช้ยาชาเฉพาะที่โดยผู้เชี่ยวชาญ หลังจากที่ทำการกำจัดการติดเชื้อในรากฟันเสร็จแล้ว มีการครอบฟันเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันบิ่นเมื่อเวลาผ่านไป เมื่อครอบฟันแล้วจะสามารถใช้งานได้เหมือนฟันซี่อื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถทำเสร็จได้ในครั้งเดียว

A title
Image Box text
การถอนฟันน้ำนม
ถ้าฟันซี่ที่ผุได้รับความเสียหายมาก โดยมีการตรวจพบแล้วว่าอาจจะก่อให้เกิดโรคร้ายอื่นๆ ทันตแพทย์จะแนะนำให้ถอนฟันน้ำนมออก เพื่อกำจัดการติดเชื้อในเหงือกและบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน และอาจจะพิจารณาทำ Space maintenance (เครื่องมือกันฟันล้ม) กรณีป้องกันฟันล้มเข้าหาช่องว่างระหว่างฟัน เพื่อให้ฟันแท้ที่งอกขึ้นใหม่มีพื้นที่ขึ้นอย่างเหมาะสม
โรงพยาบาลฟัน แบบครบวงจร สำหรับความต้องการทางทันตกรรมของคุณ
วิธีการป้องกันโรคฝันผุในเด็ก

- พ่อแม่ควรควบคุมปริมาณการรับประทานอาหารที่มีรสชาติหวาน อย่างเช่น ขนมหรือลูกอม
- ควรให้ลูกบ้วนปากหรือทำความสะอาดช่องปากและฟันทุกครั้งหลังจากรับประทานอาหาร เพื่อไม่ให้มีเศษอาหารไปติดอยู่ตามซอกฟัน
- แปรงฟันให้ลูกด้วยยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เวลาเช้า – ก่อนนอน
- ควรสอนวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้อง เมื่อลูกอายุครบ 4 ขวบ
- ควรพาลูกไปตรวจสุขภาพฟันกับทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อลดการเกิดโรคฟันผุให้กับลูกน้อยของคุณ
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม : FAQ : คำถามที่พบบ่อยในการทำฟันเด็ก (คลิก)
ตรวจสุขภาพฟัน และรักษาโรคฟันผุของเด็กได้ที่ไหน?
ที่โรงพยาบาลฟัน BIDH เรามีศูนย์ทันตกรรมสำหรับเด็ก เรารวมรวบทันตแพทย์เฉพาะทางทันตกรรมสำหรับเด็กชั้นนำระดับประเทศ ด้วยประสบการณ์ในการรักษาและการันตีด้วยราชวิทยาลัยอนุมัติบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมสำหรับเด็ก ซึ่งได้รับการฝึกฝนอย่างพิเศษในเรื่องของ จิตวิทยาสำหรับเด็ก และ การเจริญเติบโต รวมถึงฟันน้ำนมอย่างลึกซึ้ง ทำให้สามารถให้การรักษาที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น อาทิเช่น การทำทันตกรรมเด็กภายใต้การดมยาสลบ, การจัดฟันสำหรับเด็กเพื่อช่วยการเจริญเติบโตของกระดูกและขากรรไกรอย่างเหมาะสม
“สำหรับโรงพยาบาลฟัน BIDH ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาทางทันตกรรม
เรามั่นใจว่าผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการรักษาด้วยมาตรฐานความปลอดภัย และมาตราฐานในระดับสากล”

ทพ. เพิ่มพูน เจริญทำนุกิจ DDS.,
ทันตแพทย์สำหรับเด็ก

ผศ. ดร.ทพญ.วรางคณา จิรรัตนโสภา DDS., MSC.,
ทันตแพทย์สำหรับเด็ก

ทพญ. ศศิพิมล จันทร์รัตน์ DDS., MSC.,
ทันตแพทย์สำหรับเด็ก
ข้อมูลเพิ่มเติม : ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กที่โรงพยาบาลทันตกรรมกรุงเทพ BIDH (คลิก)
สรุป
การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของเด็ก ถือเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจทำให้ลูกน้อยของคุณพบกับปัญหาโรคฟันผุจนเกิดการเจ็บปวดระหว่างเคี้ยวอาหาร หรือการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงการโชว์รอยยิ้มที่สวยงามในวัยเด็ก การควบคุมอาหารที่มีรสหวานให้ลูกน้อยจึงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความใส่ใจ เพื่อให้ไม่เป็นเด็กฟันผุ และควรพาลูกน้อยไปตรวจสุขภาพฟันกับทันตแพทย์เฉพาะทางเด็ก 2 ครั้ง/ปี เพื่อให้ลูกน้อยของคุณมีสุขภาพฟันที่ดีและแข็งแรง
ติดต่อเรา โรงพยาบาลฟัน สุขุมวิท ซอย 2
โรงพยาบาลทันตกรรมกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล (BIDH)
98 ซอยสุขุมวิท 2 แขวงคลองเตย, เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
Tel : 02-115-8977, 095-517-1587
Email : contact@dentalhospitalthailand.com
LINE ID : @DentalHospital